TKP HEADLINE

วัดศรีสันตยาราม ตำบลปากปวน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย (2566)


 

วัดศรีสันตยาราม ตำบลปากปวน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นสถานที่ศูนย์รวมจิตใจ ความเชื่อ ความศรัทธา ของชาวตำบลปากปวน โดยเฉพาะเจดีย์ หลวงปู่เฉย สุทฺโธ เจ้าอาวาสรูปแรกของวัดศรีสันตยาราม ก่อตั้งเมือปี พ.ศ. 2424 มีหลวงปู่เฉย สุทฺโธ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมาท่านได้มรณภาพลง ก็ได้มีพระครูถาวรจารุวัตร ได้เป็นเจ้าอาวาส และได้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม ได้เปิดสอนแผนกธรรม บาลี

อ่านเพิ่มเติม>>

แหล่งท่องเที่ยวชุมชน สวนรุกขชาติ 100 ปี บ้านปากปวน (2566)


 

        สวนรุกขชาติปากปวน ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 (ถนนมะลิวรรณ) ตำบลปากปวน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ได้จัดตั้งตามนโยบายกรมป่าไม้ในการจัดสร้างสวนรุกขชาติ 100 ปี กรมป่าไม้ อันเป็นกิจกรรมหนึ่งในการจัดงานวันสถาปนากรมป่าไม้ครบรอบ 100 ปี พ.ศ. 2539 ในพื้นที่สวนป่าปากปวน บ้านปากปวน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ที่ปลูกตั้งแต่ปีพ.ศ.2498 และยังมีพื้นที่ป่าสมบูรณ์ อยู่ใกล้แหล่งชุมชน ทางคมนาคมสะดวก ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช และเปลียนชื่อเป็น สวนรุกขชาติปากปวน

อ่านเพิ่มเติม>>

ศูนย์เรียนรู้ โคกหนองนาโมเดล ตำบลปากปวน (2566)


 

        นายเตียม ดวงจำปา อยู่บ้านเลขที่ 39 หมู่ 4 บ้านวังเดื่อ ตำบลปากปวน อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ได้ ดำเนินงานภายใต้โครงการการพัฒนาพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” กิจกรรมพัฒนาพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (HLM) ระดับครัวเรือน งบประมาณ 104,000 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมแต่ละครัวเรือนให้ได้รับการพัฒนาอย่างบูรณาการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชา โดยได้ใช้พื้นที่แปลนนา ในการดำเนินการจัดทำโคกหนองนา โมเดล

อ่านเพิ่มเติม>>

กลุ่มวิชาชีพการสานเส้นพลาสติก ของกลุ่มแม่บ้าน บ้านปากปวน (2566)


     สมัยก่อนกลุ่มผู้สูงอายุ ได้ทำการจักสานของใช้ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต โดยนำวัสดุจากวัสดุธรรมชาติมาใช้ในการจักสาน เช่น ไม้ไผ่ หญ้าแฝก กก ผือ และอีกหลายๆ อย่าง จนก่อให้เกิดงานอาชีพสืบต่อกันมาเป็นภูมิปัญญาสู่ลูกหลานแต่วัสดุอุปกรณ์จากธรรมชาติเหล่านั้นไม่คงทนเท่าที่ควร 

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ทำให้มีการดัดแปลงจากอุปกรณ์เหล่านี้ไปเป็นเส้นพลาสติกแทน โดยได้นำเอาเส้นพลาสติกที่มีลักษณะคล้ายตอกแต่มีสีสันลวดลายที่สวยงามและคงทนมาทำการสาน สภาพปัจจุบันเด็กและเยาวชนถูกสภาพสังคมแห่งการบริโภคนิยมเป็นผู้บริโภคมากกว่าเป็นผู้ผลิต


อ่านเพิ่มเติม>>

แหล่งท่องเที่ยว(ชุมชน) ภูช่องคับ (2566)


 

        ประวัติความเป็นมาภูช่องคับ ภูช่องคับห่างจากทางหลวงแผ่นดิน สายเลย - ขอนแก่น ประมาณ 7 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอวังสะพุง ประมาณ      14 กิโลเมตร สาเหตุที่มีชื่อเรียกภูช่องคับ ก็เพราะว่าเป็นเส้นทางเล็กๆ และคับแคบมาก แต่ก่อนชาวบ้านใช้เป็นเส้นทางไปทำไร่ ทำนา และไปขุดเอาดินส้มที่ภูช่องคับ มาไว้กินกัน ดินส้มมีรสชาติหอมอร่อย ชาวบ้านที่ใช้เส้นทางผ่านภูช่องคับ จะต้องตะแครงตัวเข้าไปถึงจะไปได้ แต่ก่อนชาวบ้านจะไปอำเภอจะใช้เส้นทางภูผาฆ้อง 

อ่านเพิ่มเติม>>

เกษตรกรต้นแบบอำเภอวังสะพุง (2566)


 

        นายปรีชา การมงคล อยู่บ้านเลขที่ 91 หมู่17 บ้านเมตตา ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย อายุ 39 ปี ประกอบอาชีพด้านการเกษตรมาแล้ว 6 ปี เดิมทีเป็นพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม อยู่ 7 ปี ในปี  2552 ได้แต่งงานกับ นางสาวผ่องศรี คำเบาะ และมีบุตรร่วมกัน 2 คน จึงได้ลาออก และกลับมาอยู่ที่บ้านกับครอบครัว และได้ทำอาชีพขายสลากกินแบ่งรัฐบาล 6 ปี และรัฐบาลได้เริ่มจัดสรรโควตาให้ผู้ค้ารายย่อย จึงร่วมกับประชาชนในพื้นที่จำนวน 2,050 คน ยื่นเรื่องสมัครรับโควตากับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้มาขาย 4 เดือน จึงถูกเรียกคืน ทำให้มองเห็นว่าเป็นอาชีพที่ไม่แน่นอน จึงทำให้หันมาทำการเกษตรแบบเต็มตัว

อ่านเพิ่มเติม>>

วัดป่าผาเจริญ (2566)


 

        อัตโนประวัติ ที่บันทึกไว้ในหนังสือมุทิตานุสรณ์ เมื่อปี 2548 กล่าวโดยย่อว่าเกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2476 ที่บ้านน้ำอ้อม ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เดิมนั้นท่านชื่อสมภาร บุญปั้น โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายใบและนางทา บุญปั้น ช่วงวัยเยาว์ศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนบ้านเล้า จบชั้น ป.4 ต่อมาครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านเล้า ในปี พ.ศ.2493 ขณะอายุ 17 ปี ได้มีพระธุดงค์รูปหนึ่งเดินทางจาริกบุญผ่านมายังบ้านเล้า คือ หลวงปู่เง้า ถาวโร ซึ่งออกธุดงค์ไปทั่ว ท่านได้มาปักกลดอยู่ที่บ้านเล้า นายใบและนางทาได้ใส่บาตรและเกิดความศรัทธาต่อหลวงปู่เง้า พร้อมกันนี้ได้ให้บุตรชายเป็นผู้อุปัฏฐากติดตามหลวงปู่เง้าจึงติดตาม  

อ่านเพิ่มเติม>>

การเลี้ยงโคนม (ฟาร์มโคนมสาธิต) (2566)

 


         การเลี้ยงโคนมที่จะขอกล่าวต่อไปนี้เป็นประสบการณ์จริงของเกษตรกรโคนมที่เลี้ยงโคนมเพียง 40 ตัวแต่สามารถสร้างรายได้หลักเป็นกอบเป็นกำคือหลักแสนบาทต่อเดือน ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะเหลือกำไรต่อเดือนราว 60,000-70,000 บาท  เลยทีเดียว เกษตรกรท่านนี้เริ่มเลี้ยงโคนมจากการซื้อโคนมเพศผู้เข้ามาเลี้ยงก่อนเพียง  5 ตัวเท่านั้นในเบื้องต้น  ซึ่งพันธุ์โคที่ได้นั้นซื้อมาจากสหกรณ์โคนมในจังหวัดเลย  หลังจากเลี้ยงจนโตเต็มที่จึงทำการขายออกไป และนำเงินที่ได้นั้นมาซื้อแม่วัวนม 2 ตัวมาเลี้ยงต่อในราคาตัวละ 30,000 บาท และทำการเพาะขยายพันธุ์เรื่อยมา จนปัจจุบันในฟาร์มมีโคนมทั้งหมดราว 100 ตัว

อ่านเพิ่มเติม>>

วัดถ้ำผาบิ้ง (2566)


         วัดถ้ำผาบิ้ง ตั้งอยู่ที่  บ้านนาแก  หมู่ที่ 2 ต.ผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย สิ่งสำคัญของวัดคือ รอยพระพุทธบาทบนเพดานถ้ำ ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานในปี 2478  เป็นวัดที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเลย มีพื้นที่ทั้งหมด 49 ไร่ ได้รับการจดทะเบียน เป็นโบราณสถานแห่งแรกของจังหวัดเลยพร้อมกับพระธาตุ    ศรีสองรัก มีประวัติเล่าว่าเป็นสถานที่ ที่พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ พระอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงของภาคอีสาน ได้เคยมาบำเพ็ญธรรมอยู่ที่วัดนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2461

อ่านเพิ่มเติม>>

แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำทบ (2566)


         "อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำทบ" บ้านกกซ้อ หมู่ที่ 19 ต.ทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทานฝ่ายก่อสร้าง มอบหมายให้ นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำทบ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเลย โดยมี นายนพดลปิยะธรรมธาดา ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้า(ด้านวางแผนและโครงการ) นายนรินทร ชามทอง ผู้อำนวยการส่วนโรงงาน นายคำนึง คงรอด ผู้อำนวยการส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 2 นายศักดิ์มงคล มิ่งเมือง ผู้อำนวยการส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 3 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ ที่โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำทบ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

อ่านเพิ่มเติม>>

การทำพานบายศรี (2566)


 

        บายศรี เป็นของสูงเป็นสิ่งที่มีค่าของคนไทย ตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่เกิดจะจัดพิธีสังเวยและทำขวัญในวาระต่างๆ ซึ่งจะต้อง มีบายศรีเป็นสิ่งสำคัญในพิธีนั้นๆ ซึ่งเป็นศาสนพิธีของพราหมณ์ คำว่า บาย ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก บาย ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส ศรี เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤตตรงกับ ภาษาบาลี ว่า สิริ แปลว่า มิ่งขวัญ คำว่า  “บายศรี”แปลว่า ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่ น่าสัมผัสกับความดีงาม

อ่านเพิ่มเติม>>

แปลงเกษตรผสมผสานต้นแบบ (2566)

 


         เป็นเกษตรต้นแบบอย่างแท้จริง เนื่องจากว่าการทำการเกษตรครอบคลุมทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของพืชไม้พุ่มอย่าง ไผ่ ที่สร้างรายได้จากการนำเอาหน่อไม้จากต้นไผ่มาขาย และยังมีการเจาะน้ำจากก่อไผ่เพื่อไปขาย ถือว่าเป็นการสร้างรายได้ที่ดีเลยทีเดียว นอกจากนี้ ยังมีรายได้เสริมเข้ามาจากการทำปุ๋ยหมักชีวภาพขาย ที่ได้มาจากการเลี้ยงโค โดยวิธีการทำปุ๋ยหมัก จะนำมูลโคมาทำตามกระบวนการและปล่อยทิ้งไว้ให้ครบกำหนดวัน จากนั้นนำมาขายและสามารถใช้กับพืชที่ปลูกภายในสวนของเขาเองอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม>>

การแปรรูปกล้วย (2566)


        กล้วยถือว่าเป็นผลไม้พื้นเมืองของไทย นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย เป็นผลไม้ที่มีทุกฤดูกาลและปราศจากสารพิษ มีประโยชน์สารพัดอย่าง สามารถนำเอาทุกส่วนของพืชชนิดนี้มาทำประโยชน์ใช้สอยและรับประทาน ไม่ว่าจะเป็นใบ ดอก ก้านใบ ลำต้น ผล  กล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยชนิดที่นิยมปลูก เนื่องจากกล้วยน้ำว้าคงความสดอยู่ได้หลายวันก่อนที่จะช้ำเกินไป และมีคุณค่าทางอาหารมากมาย

อ่านเพิ่มเติม>>

กลุ่มทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองบ้านกกบก (2566)


          แนวคิดก่อเกิดผลิตภัณฑ์และต่อยอดภูมิปัญญาจากการต้องการอนุรักผ้าทอพื้นเมืองเพื่อให้คงอยู่กับชุมชนโดยเอาความรู้ใหม่ผสมเข้าไปในกระบวนการผลิตการผลิตผ้าฝ้ายปลอดสารพิษเกิดตั้งแต่กระบวนการเตรียมดินจะต้องไม่มีการพ่นยาฆ่าหญ้าหรือใช้สารเคมีใดๆ แม้แต่ปุ๋ยเคมีก็ต้องละเว้นโดยใช้ ปุ๋ยชีวภาพแทนจนถึงขั้นสุดท้ายที่มีการเก็บ ดอกฝ้ายการย้อมสี การทอล้วนปลอดจากการใช้สารเคมี   ผ้าฝ้ายอินทรีย์หรือฝ้ายปลอดสารพิษเกิดจากการที่กลุ่มแม่บ้านบ้านกกบก เพื่อต้องการอนุรักษ์พันธ์ฝ้ายและกระบวนการผลิตแบบพื้นบ้านและวัฒนธรรมที่ดีให้มีการสืบทอด ภูมิปัญญาเก่าบูรณาการกับความรู้ใหม่

อ่านเพิ่มเติม>>

นวดแผนไทย และการทำลูกประคบ (2566)


 นางสาวบุญมา  สุทธิสอน เลขที่  4  หมู่ที่  3  ชื่อหมู่บ้านเล้า  ตำบลหนองงิ้ว    อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย  โทรศัพท์  0899352936  นางสาวบุญมา  สุทธิสอน  อีกหนึ่งบุคคลที่มีภูมิปัญญาเรื่องการนวดแผนโบราณ และเรื่องสมุนไพร  ที่มีประสบการณ์หลายสิบปี  โดยประชาชนชาวบ้านเล้า  ตำบลหนองงิ้ว  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย  ให้การยอมรับเรื่องการนวดแผนโบราณในการรักษาโรคต่างๆได้เป็นอย่างดี  ก่อนมาประกอบอาชีพนวดแผนไทยเคยทำงานเป็นลูกจ้างของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองงิ้ว

อ่านเพิ่มเติม>>

โครงการเทิดพระเกียรติเพื่อพัฒนาพื้นที่ ผาบ่าว ผาสาว (2566)

 

        สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงมีความห่วงใยราษฎรในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งส่วนใหญ่มีฐานะยากจน จึงมีพระราชเสาวนีย์ให้มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดซื้อที่ดินในพื้นที่จังหวัดเลยและที่ดินของราษฎรที่มีความประสงค์น้อมเกล้าถวายให้กับมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ เพื่อช่วยเหลือราษฎร ซึ่งขาดแคลนที่ดินทำกิน เข้ามาอยู่อาศัยโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมงานศิลปาชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับราษฎรในพื้นที่ มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

อ่านเพิ่มเติม>>

หมอหมา กะ หมาของหมอ (2566)

 

        เมื่อคนเราไม่สบาย เราก็ไปหาหมอที่โรงพยาบาล เมื่อหมาไม่สบาย ก็ต้องไปหาหมอเหมือนกัน แต่ต้องไปหาหมอหมา และนีีี่คือต้นเหตุแห่งความสนุกสนานระหว่างคนกับหมาที่ถูกรวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้หมอหมา รวมเรื่องสั้นสาระขันสาระมันส์ที่ให้ความรู้เรื่องหมาหมาไว้ประเทืองปัญญา และตลก มันส์ ฮา ขำกลิ้ง จากประสบการณ์จริงๆ ไม่อิงนิยายของหมออารมณ์ดี

อ่านเพิ่มเติม>>

ปมแค้น แสนรัก (2566)


 ลม นายแบบหนุ่มหล่ออันดับหนึ่ง สงสัยว่าหญิงสาวที่ชื่อ ณจันทร์ จะเป็นภรรยาน้อยของพ่อ จึงคิดจะจัดการกับผู้หญิงที่ทำให้แม่เขาเสียใจ แต่เมื่อเขามาเจอกับเธอกลับรู้สึกว่าผิดจากที่คิดไว้ จากผู้หญิงที่เขาจะต้องกำจัดออกไปให้พ้นทาง กลับมีเสน่ห์ในความธรรมดาที่ทำให้เขาสนใจ จากที่คิดจะกันเธอให้ออกห่างจากครอบครัวเขา กลับกลายว่าเขายิ่งพัวพันกับเธอมากยิ่งขึ้น “ปมแค้น” ที่มี “รัก” ซ่อนอยู่นั้นเริ่มต้นด้วยความเจ็บปวด แต่จบลงได้ด้วยความรักแสนหวา

อ่านเพิ่มเติม>>

อีกสักครั้ง...ขอใจได้มีรัก (2566)


                 เธอ... บอกว่าให้อยู่ห่างกันสักพัก ไม่ได้หมายความให้แยกจาก บางครั้งก็แค่อยากจะประชดให้เขาเห็นคุณค่าในตัวบ้างก็เท่านั้น เขา... ตีความหมายคำนี้ว่าเธออยากขอเวลาได้อยู่กับตัวเอง จึงยินดีปลีกตัวห่างเพื่อให้เธอได้คิดได้ตัดสินใจ

            เธอ... อยากฟังความจริงทุกสิ่งจากปากเขา แต่พอเอาเข้าจริงๆ ก็รับไม่ได้จนทะเลาะกันเสียทุกครั้งไป เขา... เลือกที่จะไม่บอกเพราะไม่เห็นเป็นเรื่องใหญ่ และเพราะรู้ดีว่าบางเรื่องถ้าบอกไป ไม่วายต้องจบที่การทะเลาะกันอยู่ดี


อ่านเพิ่มเติม>>

สุขภาพดีอายุยืนด้วยวิธีกินอาหารตามกรุ๊ปเลือด (ฉบับปรับปรุง) (2566)


         ปัจจุบันปัญหาสุขภาพของคนไทยนั้นมักเกิดจากการกินอาหารในแต่ละมื้อที่ขาดความพิถีพิถันในการเลือกที่จะกินอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย จึงทำให้มีคนป่วย และอ้วนกันมากขึ้น จึงทำให้คนส่วนใหญ่เริ่มที่จะหันมาใส่ใจกับเรื่องอาหารการกินมากขึ้น ประกอบกับวิทยาการทางการแพทย์ที่กำลังพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นักโภชนา นักวิทยาศาสตร์ รวมถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและสุขภาพต่างก็ช่วยกันคิดค้นวิธีเพื่อให้คนเรามีสุขภาพที่ดีขึ้น มีอายุยืนยาวขึ้น และหนึ่งในทฤษฎีนั้นก็มีการกินอาหารตามกรุ๊ปเลือด ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้มีการนำข้อมูลดี ๆ

อ่านเพิ่มเติม>>

โรคซึมเศร้า (2566)

 

        คำว่า “โรค” บ่งว่าเป็นความผิดปกติทางการแพทย์ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่อให้อาการทุเลา ต่างจากภาวะอารมณ์เศร้าตามปกติธรรมดาที่ถ้าเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัวคลี่คลายลง หรือมีคนเข้าใจเห็นใจ อารมณ์เศร้านี้ก็อาจหายได้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านอกจากมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมกับอาการต่างๆ แล้ว การทำงานหรือการประกอบกิจวัตรประจำวันก็แย่ลงด้วย คนที่เป็นแม่บ้านก็ทำงานบ้านน้อยลงหรือมีงานบ้านคั่งค้าง คนที่ทำงานนอกบ้านก็อาจขาดงานบ่อยๆ จนถูกเพ่งเล็ง เรียกว่าตัวโรคทำให้การประกอบกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ

"ศูนย์ประวัติศาสตร์ประจำเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2" (2566)


         ศูนย์ประวัติศาสตร์พระธาตุเฮือคำ ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนชุมชนบ้านทรายขาว หมู่ 5 ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ตรงข้ามวัดเทิง (ร้าง) โบราณสถานสมัยล้านช้าง ลักษณะอาคารของศูนย์ประวัติศาสตร์ฯ  เป็นห้องก่ออิฐที่ใต้ถุนอาคารไม้ที่เป็นห้องเรียนระดับอนุบาล อาคารแห่งนี้เดิมเป็นอาคารไม้ใต้ถุนเตี้ยจนเกือบติดระดับพื้นดิน  และมีศูนย์ไอทีที่ใต้ถุนอาคาร

อ่านเพิ่มเติม>>

เสมาหินทราย (2566)


   เสมาหินบ้านบุ่งผักก้ามถูกค้นพบที่วัดพัทธสีมาราม บ้านหนองบัวทอง ตำบลวังสะพุง จังหวัดเลย เป็นเสมาหินที่มีการกำหนดอายุโดยวิธีทางโบราณคดี โดยใช้วิธีเปรียบเทียบทางประวัติศาสตร์ และศิลปะโดยศึกษาจากศิลปะโบราณวัตถุ สถานที่ที่มีลักษณะรูปแบบลวดลายใกล้เคียงกันและเปรียบเทียบกับศิลปะโบราณวัตถุจากประเทศใกล้เคียงและคัมภีร์ที่ให้อิทธิพลการกำหนดรูปแบบสลักบนใบเสมา จึงกำหนดอายุได้ว่า สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 13-16 มีอายุไม่ต่ำกว่า 900 – 1,200 ปี เป็นแบบศิลปะทวาราวดี

อ่านเพิ่มเติม>>

การสานกระติบข้าวลายอักษร (2566)


 ก่องข้าว และ กระติบข้าว เป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียวของชาวอีสาน ความแตกต่างของภาชนะทั้งสอง อยู่ที่รูปทรง โดยก่องข้าวจะมีลักษณะคล้ายกระบุง มีฝาปิด และมีขาทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นฐานแยกสี่แฉกดังภาพด้านซ้ายมือ มีความแข็งแรงทนทานมากกว่า การสานด้วยไม้ไผ่มีความแน่นหนา เก็บขอบด้วยหวายโดยรอบ ส่วนกระติบข้าวนั้นพบเห็นได้ทั่วไป เป็นภาชนะสานทรงกลมมีฝาปิด ฐานของกระติบจะทำจากก้านตาล ขดเป็นวงกลม มีมากมายหลายขนาด การสานทำได้ง่ายกว่าก่องข้าว เพราะใช้ตอกไม่ไผ่ที่มีความบางอ่อนตัว (ก่องข้าวใช้ตอกที่ทำจากติวไม้ไผ่ (ส่วนผิว) ซึ่งมีความแข็งจึงสานยากกว่า) ทำให้กระติบข้าวมีความแข็งแรงน้อยกว่าก่องข้าว 

อ่านเพิ่มเติม>>

วัดป่าภูแปก ญาณสัมปันโน (2566)



         เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๒ ชาวบ้านกกบก ได้นิมนต์ให้ไปจำพรรษา ด้วยใจก็อยากจะเปลี่ยนสถานที่อยู่พอดี ก็เลยตกลงรับนิมนต์ของคณะญาติโยม เดินทางเข้าไปวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ ไปเลือกสถานที่พอได้ที่ถูกใจ ชาวบ้านก็ช่วยกันทำกุฏิเล็กๆให้สองหลัง เพราะไปด้วยกัน ๒ องค์ เย็นก็กลับลงไปนอนที่วัดในหมู่บ้าน พาชาวบ้านทำวัตร สวดมนต์ต่อ เพราะเป็นวันพระ ๑๕ ค่ำ พอเช้าเสร็จภารกิจเรียบร้อยชาวบ้านก็ขนของให้ต่างๆขึ้นไปพร้อม และชาวบ้านก็ช่วยกันทำศาลาเล็กๆถวายอีก ๑ หลัง ในที่สุดชาวบ้านก็ยกสถานที่ตรงที่อยู่ปัจจุบันนี้ถวายให้สร้างเป็นวัด จำนวนเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑,๒๐๐ ไร่ สิ่งก่อสร้างที่อยู่อาศัย เสนาสนะ ก็เกิดจากน้ำพักน้ำแรงของชาวบ้านเป็นหลัก เพราะในสมัยนั้นยังถือได้ว่าเป็นหมู่บ้านที่กันดารมากพอสมควร ตอนหลังๆมา หมู่บ้านก็ขยายใหญ่ขึ้น ประชากรก็มีมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และยังมีคณะญาติโยม ทางภายนอกเข้าไปสมทบเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ศาลาหลังเก่าที่เคยใช้  อ่านต่อ>>
 

CharmFarm-สวนผักลุงตุ้ม (2566)


     CharmFarm-สวนผักลุงตุ้ม  สวนผักไฮโดรโปนิกส์ (hydroponics) เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นับเป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืช โดยเฉพาะการปลูกผักและพืชที่ใช้เป็นอาหาร เนื่องจากประหยัดพื้นที่ ทำให้ได้พืชผักที่สะอาด การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ถือได้ว่าเป็นเทรนด์การปลูกผักแบบใหม่ที่กำลังมาแรง เนื่องจากมีขั้นตอนการปลูก บำรุง ดูแลรักษาที่ไม่ยุ่งยาก มีพื้นที่น้อยๆ ก็ปลูกได้ ไม่ต้องพึ่งดิน ไม่ต้องออกแรงมาก และเหนื่อยน้อย แต่ผลที่ได้คุ้มค่า เพราะว่าได้ผักสะอาด มีรสชาติอร่อย ผักมีความสวยงามน่ารับประทาน มีคุณค่าทางโภชนาการสูง นุ่มและกรอบ และยังเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนและตนเองอย่างงดงามอีกด้วย  อ่านต่อ>>

“อุทยานเทิดพระเกียรติบ้านหมากแข้ง”


         นับย้อนไปในช่วงปี 2511 ที่บ้านเมืองไทยมีการสู้รบกับ “ลัทธิคอมมิวนิสต์” หลายพื้นที่เต็มไปกลิ่นอายแห่งสงครามนานหลายปี โดยเฉพาะรอยต่อครอบคลุม อ.หล่มสัก และ หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์, อ.ด่านซ้าย และ อ. นาแห้ว จ.เลย รวมถึง อ.นครไทย และชาติตระการ จ.พิษณุโลก  กระทั่งวันที่ 20 พฤศจิกายน 2511 ที่เรียกกันว่า “วันเสียงปืนแตก” ที่บ้านห้วยทรายใต้ อ.นครไทย ตั้งแต่บัดนั้นมา ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้ปฏิบัติการอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น ทั้งซุ่มยิง โจมตีฐานปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ และลอบยิงราษฎรได้รับบาดเจ็บล้มตายอยู่ตลอดเวลา และที่ “บ้านหมากแข้ง” ต.กกสะทอน อ.ด่านซ้าย จ.เลย อ่านเพิ่มเติม>>>

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดเลย. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand