TKP HEADLINE

ไหโบราณ วัดโพธิ์ชัย (2566)

 

ไหโบราณ  วัดถ้ำโพธิ์ชัย   ตั้งอยู่ที่บ้านเพิ่ม  ตำบลบ้านเพิ่ม อำเภอผาขาว จังหวัดเลย    เชื่อกันว่ามีเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2559 ที่วัดโพธิ์ชัยบ้านเพิ่ม ต.บ้านเพิ่ม อ.ผาขาว จ.เลย มีประชาชนจำนวนมากเดินทางมากราบไหว้โบราณวัตถุหลายรายการ และกระดูกมนุษย์ที่เพิ่งถูกค้นพบจากในถ้ำบนภูใหญ่เมื่อวันที่ 30 ธันวาคมที่ผ่านมา ขณะชาวบ้านเข้าไปหาของป่า ซึ่งชาวบ้านและพระสงฆ์ได้ร่วมกันนำมาเก็บใส่ตู้ไว้ในศาลาการเปรียญ เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา เป็นสิริมงคล พร้อมบริจาคเงินเข้าวัด   อ่านเพิ่มเติม>>

ถ้ำผาสวรรค์ (2566)

 

ถ้ำผาสวรรค์  ตั้งอยู่ที่บนวัดถ้ำผาสวรรค์  บ้านผาสวรรค์  ตำบลบ้านเพิ่ม อำเภอผาขาว จังหวัดเลย   เป็นถ้ำที่มีภูมิทัศน์งดงาม ภายในอุโมงค์  มีหินงอกหินย้อย มีทางขึ้นลดหลั่นเป็นชั้นๆ ตามธรรมชาติสรรสร้าง และยังมีพื้นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นผงพันปีอยู่ระหว่างทางขึ้น  ไปยังยอดเขา  เชื่อกันว่าต้นผงต้นนี้มีอายุมามากพันปี  มีธรรมชาติที่ครบถ้วน เหมาะแก่การศึการะบบนิเวศของธรรมชาติ  และเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ  ซึ่งการเที่ยวชมถ้ำผาสวรรค์นั้น   ต้องเดินขึ้นไปบนยอดเขาประมาณ 300 เมตร จะเห็นศาลาชมวิวและองค์พระประธาน บริเวณนี้สามารถมองเห็นถนน หมู่บ้าน และพื้นที่ทำกินของชาวบ้านได้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นสวนยางพารา ทุ่งนา และสวนมะขามหวาน  ไร่อ้อย  เส้นทางรถวิ่งผ่านที่สวยงาม  นอกจากนี้ เดินออกไปไม่ไกลจะพบกับอุโมงค์ถ้ำ บริเวณนี้สามารถศึกษาปรากฏการณ์หินงอกหินย้อยได้ เมื่อเดินเข้าไปในถ้ำก็จะไปโผล่อีกด้านหนึ่งกลางภูเขา หากอยากชมวิวมุมสูงขึ้นไปอีก ให้ปีนขึ้นบันไดขึ้นไปด้านบน แต่ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะเป็นที่สูงและมีหินแหลมคม อาจเกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุขึ้น และไม่ควรไปอยู่ตรงที่อันตรายเกินไป เพราะอาจพลัดตกลงมาได้  อ่านเพิ่มเติม>>

การเลี้ยงศาลเจ้าพ่อพรมจักร (2566)

วัฒนธรรมความเชื่อ ประเพณี พิธีเลี้ยงศาลเจ้าพ่อเจ้าพ่อพรมจักรหรือชาวบ้านเรียกว่าพิธีเลี้ยงบ้าน จะทำกันในเดือนมกราคมและเมษายน หรือเรียกอีกอย่างว่าขึ้นเดือนลง  เดือนขึ้นคือช่วงเวลาลงเมล็ดเพราะพันธุ์พืช  เดือนลงคือช่วง  เก็บเกี่ยวผลผลิต และเดือนมกราคม  เมษายน  ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้นำหมู่บ้านจะประกาศให้ลูกบ้านเตรียมข้าวปลาอาหารหรือไก่ หัวหมู หมูเป็นตัว  เหล้าขาว  บุหรี่  ฟิ่น กัญชา  ตัวอ้น ตัวตุ่น แล้วแต่ชาวบ้านที่ได้ไปบนบาน สานกล่วาไว้ ให้ครบตามจำนวนของแต่ละครอบครัว โดยนำไปรวมกันบริเวณพิธีที่ศาลเจ้าพ่อพรมจักร จากนั้นเฒ่าจ้ำก็จะเป็นผู้นำประกอบพิธีเสี่ยงทายดินฟ้าอากาศรวมทั้งเหตุเภทภัยที่อาจเกิดขึ้นกับหมู่บ้าน หลังเสร็จพิธีดังกล่าวชาวบ้านก็จะแบ่งไก่ หัวหมู และเครื่องดื่ม ไปกินเพื่อเป็นสิริมงคล  ถือกันว่ากินแล้วจะโชคดี  สุขภาพแข็งแรง อ่านเพิ่มเติม>>
 

ไร่ภูตะวัน (2566)

 

ไร่ภูตะวัน  ตั้งอยู่ที่  บ้านซำพร้าว  อำเภอผาขาว  จังหวัดเลย  ไร่ภูตะวันเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติที่คงสวยงามอยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านเพิ่ม  มีน้ำตกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  มีสวนดอกไม้ที่หลากหลายสีสัน  มีต้นผักหวานและต้นไม้หาอยากนาๆชนิด  มีแกะและสัตว์เลี้ยงหลากหลายสายพันธุ์  ที่เป็นจุดดึงดูดให้ผู้คนได้เข้าชม  อีกทั้งสวนสตรอเบอรี่ที่กว้างใหญ่ตลอดฤดูกาลและสามารถเก็บกินได้ก่อนซื้อ  และยังเป็นแหล่งเรียนรู้อีกหนึ่งแห่งของ  กศน.ตำบลบ้านเพิ่ม มีอาชีพที่หลากหลายให้ได้เรียนรู้    มีการทำไร่นาสวนผสมแบบผักปลอดสารพิษ  สามารถเก็บกินได้เลยโดยที่ไม่ต้องล้าง   อ่านเพิ่มเติม>>

การสานกระติบข้าว (2566)

นายพลวย  สมเพชร  อาศัยอยู่บ้านเลขที่  46  หมู่ที่  6  ตำบลบ้านเพิ่ม  อำเภอผาขาว  จังหวัดเลย  อายุ  65  ปี  นายพลวย  สมเพชร  ได้รับการถ่ายทอดอาชีพ  การสานกระติบข้าวมาจากบิดาและมารดา  ของท่าน  ท่านได้เล่าว่าสมัยก่อนกระติบข้าวราคาถูกมาก  ไม่ค่อยได้ขายมีแต่ทำแลกเปลี่ยนกันในชุมชน  บ้างแลกผักบ้างแลกข้าว  บ้างแลกปลา  แตกต่างจากยุคสมัยนี้  ซึ่งทำขายและได้ราคาดี  มีคนมาสั่งทำอยู่ตลอดจนทำไม่ทัน  มีลวดลายที่ต่างกันออกไป  หลากหลายรูปแบบล้วนสวยงาม  กระติบข้าวที่นายพลวย  สมเพชร  ทำจากไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่  มีวางขายตามกลุ่มแม่บ้านในชุมชน    ใครสนใจก็มาสั่งได้ที่บ้านและร้านค้าชุมชนตำบลบ้านเพิ่ม   อ่านเพิ่มเติม>>
 

งานดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย (2566)

 

เลย เป็นจังหวัดเดียวของประเทศที่ปลูกฝ้ายมากเป็นอันดับ 1 ในสมัยนั้น และเพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของจังหวัดเลยในด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีอยู่มากมาย คือ ภูกระดึง ภูเรือ ภูหลวง ควบคู่กับการส่งเสริมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในชนบทที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ท่องเที่ยวพักผ่อน รื่นเริงสนุกสนาน โดยในช่วงฤดูหนาวถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมกับการจัดงานมากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น และฝ้ายกำลังออกดอกขาวบานสะพรั่งไปทั่วจังหวัดเลย ต่อมาสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไป ฝ้ายซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของจังหวัดเลย ขาดการเอาใจใส่ส่งเสริม เกษตรกรหันไปสนใจปลูกมะขามหวาน ข้าวโพด มะม่วงหิมพานต์ ยางพารา อ้อยและมันสำปะหลัง ซึ่งมะขามหวานได้เข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจแทนฝ้าย ในสมัยนายชีวิน สุทธิสุวรรณ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเลย โดยได้มอบหมายให้คณะกรรมการในครั้งนั้นผลักดันให้นำชื่อมะขามหวานเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชื่องาน “งานกาชาดดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 มาจนถึงปัจจุบัน โดยจัดต่อมาเป็นประจำทุกปี ที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดเลย มีการแสดงศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวจังหวัดเลย รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย โยงไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของคนในท้องถิ่นจึงมีการแสดงสินค้าเกษตรสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และเพื่อเป็นการส่งเสริมความรักความสามัคคีและรักหวงแหนในวัฒนธรรมพื้นบ้านอันเป็นการพัฒนาสังคมโดยผ่านกระบวนการแสดงออกร่วมกันทางสภาวัฒนธรรมจังหวัด/อำเภอ/ตำบล/เทศบาลและศูนย์วัฒนธรรม ได้ร่วมกันออกร้านในงานนี้ พร้อมทั้งจัดประกวดและสาธิตการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่น   อ่านเพิ่มเติม>>

วนอุทยานภูบ่อบิด (2566)

เล่ากันว่า... แต่ก่อนบนภูนั้น ภายในถ้ำกว้างขวางเวิ้งว้างกว่านั้นด้วยมีเขตของพวก "บังบด" หรือ พวก ภูมิเทวดา ดูแลรักษาอยู่ด้วย มีสมบัติภายในถ้ำมากมายมหาศาลเป็นสมบัติของ "เทวดา" ผู้มีศีลธรรม มีจิตบริสุทธิ์ ได้ปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นทรัพย์สมบัติของส่วนกลาง ให้มนุษย์นำมากราบไหว้หรือมีสิทธิ์นำไปใช้สอยได้ ส่วนที่ให้นำมากราบไหว้บูชา คือ พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน นาก ขนาดต่างๆ อันแสดงถึงความเลื่อมใสศรัทธาอย่างสูงสุดของคนในสมัยโบราณ จึงได้จัดสร้างพระพุทธรูปด้วยวัสดุมีค่าไว้สักการะบูชา ส่วนที่ให้นำไปใช้สอยก็เป็นพวกสร้อยสนิมพิมพาภรณ์ แก้วแหวนเงินทอง เช่น สร้อยตัว สร้อยคอ สร้อยสังวาล กำไลแขน กำไลข้อมือ เข็มขัด ทอง นาก สิ่งเหล่านี้กองทิ้งอยู่บนแท่นหินภายในถ้ำอย่าง ระเกะระกะ เป็นที่อนุญาตกันว่า เมื่อเข้าไปในเขตถ้ำอันเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วยเป็นเขตของเทวดาแล้ว ทุกคนจะสามารถนำพระพุทธรูป หรือเครื่องประดับเหล่านั้นติดตัวออกมาได้ 1 กำมือเต็ม ๆ จะเป็นสร้อยตัว สร้อยคอ เข็มขัด จี้ สร้อยปะวะหล่ำ กำไล อย่างใดก็ตามสิ่งเดียวหรือหลายสิ่ง อนุญาตให้นำออกมาได้คนละ 1 กำมือ เมื่อนำมาใช้เสร็จธุระแล้ว ก็ให้นำกลับขึ้นไปคืนยังสถานที่เดิมที่ตนไปขอยืมมา ไม่ทราบว่าจะเป็นเพราะเหตุใด เพื่อเป็นการแสดงความเคารพสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์จึงต้องให้แสดงความบริสุทธิ์กายเช่นนั้น อ่านเพิ่มเติม>>
 

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดเลย. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand