TKP Start UP

ประวัติหน่วยงาน

ไหโบราณ วัดโพธิ์ชัย (2566)

 

ไหโบราณ  วัดถ้ำโพธิ์ชัย   ตั้งอยู่ที่บ้านเพิ่ม  ตำบลบ้านเพิ่ม อำเภอผาขาว จังหวัดเลย    เชื่อกันว่ามีเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2559 ที่วัดโพธิ์ชัยบ้านเพิ่ม ต.บ้านเพิ่ม อ.ผาขาว จ.เลย มีประชาชนจำนวนมากเดินทางมากราบไหว้โบราณวัตถุหลายรายการ และกระดูกมนุษย์ที่เพิ่งถูกค้นพบจากในถ้ำบนภูใหญ่เมื่อวันที่ 30 ธันวาคมที่ผ่านมา ขณะชาวบ้านเข้าไปหาของป่า ซึ่งชาวบ้านและพระสงฆ์ได้ร่วมกันนำมาเก็บใส่ตู้ไว้ในศาลาการเปรียญ เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา เป็นสิริมงคล พร้อมบริจาคเงินเข้าวัด   อ่านเพิ่มเติม>>

ถ้ำผาสวรรค์ (2566)

 

ถ้ำผาสวรรค์  ตั้งอยู่ที่บนวัดถ้ำผาสวรรค์  บ้านผาสวรรค์  ตำบลบ้านเพิ่ม อำเภอผาขาว จังหวัดเลย   เป็นถ้ำที่มีภูมิทัศน์งดงาม ภายในอุโมงค์  มีหินงอกหินย้อย มีทางขึ้นลดหลั่นเป็นชั้นๆ ตามธรรมชาติสรรสร้าง และยังมีพื้นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีต้นผงพันปีอยู่ระหว่างทางขึ้น  ไปยังยอดเขา  เชื่อกันว่าต้นผงต้นนี้มีอายุมามากพันปี  มีธรรมชาติที่ครบถ้วน เหมาะแก่การศึการะบบนิเวศของธรรมชาติ  และเหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ  ซึ่งการเที่ยวชมถ้ำผาสวรรค์นั้น   ต้องเดินขึ้นไปบนยอดเขาประมาณ 300 เมตร จะเห็นศาลาชมวิวและองค์พระประธาน บริเวณนี้สามารถมองเห็นถนน หมู่บ้าน และพื้นที่ทำกินของชาวบ้านได้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นสวนยางพารา ทุ่งนา และสวนมะขามหวาน  ไร่อ้อย  เส้นทางรถวิ่งผ่านที่สวยงาม  นอกจากนี้ เดินออกไปไม่ไกลจะพบกับอุโมงค์ถ้ำ บริเวณนี้สามารถศึกษาปรากฏการณ์หินงอกหินย้อยได้ เมื่อเดินเข้าไปในถ้ำก็จะไปโผล่อีกด้านหนึ่งกลางภูเขา หากอยากชมวิวมุมสูงขึ้นไปอีก ให้ปีนขึ้นบันไดขึ้นไปด้านบน แต่ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะเป็นที่สูงและมีหินแหลมคม อาจเกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุขึ้น และไม่ควรไปอยู่ตรงที่อันตรายเกินไป เพราะอาจพลัดตกลงมาได้  อ่านเพิ่มเติม>>

การเลี้ยงศาลเจ้าพ่อพรมจักร (2566)

วัฒนธรรมความเชื่อ ประเพณี พิธีเลี้ยงศาลเจ้าพ่อเจ้าพ่อพรมจักรหรือชาวบ้านเรียกว่าพิธีเลี้ยงบ้าน จะทำกันในเดือนมกราคมและเมษายน หรือเรียกอีกอย่างว่าขึ้นเดือนลง  เดือนขึ้นคือช่วงเวลาลงเมล็ดเพราะพันธุ์พืช  เดือนลงคือช่วง  เก็บเกี่ยวผลผลิต และเดือนมกราคม  เมษายน  ผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้นำหมู่บ้านจะประกาศให้ลูกบ้านเตรียมข้าวปลาอาหารหรือไก่ หัวหมู หมูเป็นตัว  เหล้าขาว  บุหรี่  ฟิ่น กัญชา  ตัวอ้น ตัวตุ่น แล้วแต่ชาวบ้านที่ได้ไปบนบาน สานกล่วาไว้ ให้ครบตามจำนวนของแต่ละครอบครัว โดยนำไปรวมกันบริเวณพิธีที่ศาลเจ้าพ่อพรมจักร จากนั้นเฒ่าจ้ำก็จะเป็นผู้นำประกอบพิธีเสี่ยงทายดินฟ้าอากาศรวมทั้งเหตุเภทภัยที่อาจเกิดขึ้นกับหมู่บ้าน หลังเสร็จพิธีดังกล่าวชาวบ้านก็จะแบ่งไก่ หัวหมู และเครื่องดื่ม ไปกินเพื่อเป็นสิริมงคล  ถือกันว่ากินแล้วจะโชคดี  สุขภาพแข็งแรง อ่านเพิ่มเติม>>
 

ไร่ภูตะวัน (2566)

 

ไร่ภูตะวัน  ตั้งอยู่ที่  บ้านซำพร้าว  อำเภอผาขาว  จังหวัดเลย  ไร่ภูตะวันเป็นแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติที่คงสวยงามอยู่ในพื้นที่ตำบลบ้านเพิ่ม  มีน้ำตกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ  มีสวนดอกไม้ที่หลากหลายสีสัน  มีต้นผักหวานและต้นไม้หาอยากนาๆชนิด  มีแกะและสัตว์เลี้ยงหลากหลายสายพันธุ์  ที่เป็นจุดดึงดูดให้ผู้คนได้เข้าชม  อีกทั้งสวนสตรอเบอรี่ที่กว้างใหญ่ตลอดฤดูกาลและสามารถเก็บกินได้ก่อนซื้อ  และยังเป็นแหล่งเรียนรู้อีกหนึ่งแห่งของ  กศน.ตำบลบ้านเพิ่ม มีอาชีพที่หลากหลายให้ได้เรียนรู้    มีการทำไร่นาสวนผสมแบบผักปลอดสารพิษ  สามารถเก็บกินได้เลยโดยที่ไม่ต้องล้าง   อ่านเพิ่มเติม>>

การสานกระติบข้าว (2566)

นายพลวย  สมเพชร  อาศัยอยู่บ้านเลขที่  46  หมู่ที่  6  ตำบลบ้านเพิ่ม  อำเภอผาขาว  จังหวัดเลย  อายุ  65  ปี  นายพลวย  สมเพชร  ได้รับการถ่ายทอดอาชีพ  การสานกระติบข้าวมาจากบิดาและมารดา  ของท่าน  ท่านได้เล่าว่าสมัยก่อนกระติบข้าวราคาถูกมาก  ไม่ค่อยได้ขายมีแต่ทำแลกเปลี่ยนกันในชุมชน  บ้างแลกผักบ้างแลกข้าว  บ้างแลกปลา  แตกต่างจากยุคสมัยนี้  ซึ่งทำขายและได้ราคาดี  มีคนมาสั่งทำอยู่ตลอดจนทำไม่ทัน  มีลวดลายที่ต่างกันออกไป  หลากหลายรูปแบบล้วนสวยงาม  กระติบข้าวที่นายพลวย  สมเพชร  ทำจากไม้ไผ่ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่  มีวางขายตามกลุ่มแม่บ้านในชุมชน    ใครสนใจก็มาสั่งได้ที่บ้านและร้านค้าชุมชนตำบลบ้านเพิ่ม   อ่านเพิ่มเติม>>
 

งานดอกฝ้ายบาน สืบสานวัฒนธรรมไทเลย (2566)

 

เลย เป็นจังหวัดเดียวของประเทศที่ปลูกฝ้ายมากเป็นอันดับ 1 ในสมัยนั้น และเพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของจังหวัดเลยในด้านการท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีอยู่มากมาย คือ ภูกระดึง ภูเรือ ภูหลวง ควบคู่กับการส่งเสริมเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนในชนบทที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ท่องเที่ยวพักผ่อน รื่นเริงสนุกสนาน โดยในช่วงฤดูหนาวถือว่าเป็นช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมกับการจัดงานมากที่สุด เพราะเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น และฝ้ายกำลังออกดอกขาวบานสะพรั่งไปทั่วจังหวัดเลย ต่อมาสภาพเศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนไป ฝ้ายซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของจังหวัดเลย ขาดการเอาใจใส่ส่งเสริม เกษตรกรหันไปสนใจปลูกมะขามหวาน ข้าวโพด มะม่วงหิมพานต์ ยางพารา อ้อยและมันสำปะหลัง ซึ่งมะขามหวานได้เข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจแทนฝ้าย ในสมัยนายชีวิน สุทธิสุวรรณ เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเลย โดยได้มอบหมายให้คณะกรรมการในครั้งนั้นผลักดันให้นำชื่อมะขามหวานเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชื่องาน “งานกาชาดดอกฝ้ายบาน มะขามหวานเมืองเลย” ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 มาจนถึงปัจจุบัน โดยจัดต่อมาเป็นประจำทุกปี ที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดเลย มีการแสดงศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่น ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสืบสานและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นของชาวจังหวัดเลย รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย โยงไปถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของคนในท้องถิ่นจึงมีการแสดงสินค้าเกษตรสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และเพื่อเป็นการส่งเสริมความรักความสามัคคีและรักหวงแหนในวัฒนธรรมพื้นบ้านอันเป็นการพัฒนาสังคมโดยผ่านกระบวนการแสดงออกร่วมกันทางสภาวัฒนธรรมจังหวัด/อำเภอ/ตำบล/เทศบาลและศูนย์วัฒนธรรม ได้ร่วมกันออกร้านในงานนี้ พร้อมทั้งจัดประกวดและสาธิตการแสดงวัฒนธรรมท้องถิ่น   อ่านเพิ่มเติม>>

วนอุทยานภูบ่อบิด (2566)

เล่ากันว่า... แต่ก่อนบนภูนั้น ภายในถ้ำกว้างขวางเวิ้งว้างกว่านั้นด้วยมีเขตของพวก "บังบด" หรือ พวก ภูมิเทวดา ดูแลรักษาอยู่ด้วย มีสมบัติภายในถ้ำมากมายมหาศาลเป็นสมบัติของ "เทวดา" ผู้มีศีลธรรม มีจิตบริสุทธิ์ ได้ปล่อยทิ้งไว้ให้เป็นทรัพย์สมบัติของส่วนกลาง ให้มนุษย์นำมากราบไหว้หรือมีสิทธิ์นำไปใช้สอยได้ ส่วนที่ให้นำมากราบไหว้บูชา คือ พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน นาก ขนาดต่างๆ อันแสดงถึงความเลื่อมใสศรัทธาอย่างสูงสุดของคนในสมัยโบราณ จึงได้จัดสร้างพระพุทธรูปด้วยวัสดุมีค่าไว้สักการะบูชา ส่วนที่ให้นำไปใช้สอยก็เป็นพวกสร้อยสนิมพิมพาภรณ์ แก้วแหวนเงินทอง เช่น สร้อยตัว สร้อยคอ สร้อยสังวาล กำไลแขน กำไลข้อมือ เข็มขัด ทอง นาก สิ่งเหล่านี้กองทิ้งอยู่บนแท่นหินภายในถ้ำอย่าง ระเกะระกะ เป็นที่อนุญาตกันว่า เมื่อเข้าไปในเขตถ้ำอันเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วยเป็นเขตของเทวดาแล้ว ทุกคนจะสามารถนำพระพุทธรูป หรือเครื่องประดับเหล่านั้นติดตัวออกมาได้ 1 กำมือเต็ม ๆ จะเป็นสร้อยตัว สร้อยคอ เข็มขัด จี้ สร้อยปะวะหล่ำ กำไล อย่างใดก็ตามสิ่งเดียวหรือหลายสิ่ง อนุญาตให้นำออกมาได้คนละ 1 กำมือ เมื่อนำมาใช้เสร็จธุระแล้ว ก็ให้นำกลับขึ้นไปคืนยังสถานที่เดิมที่ตนไปขอยืมมา ไม่ทราบว่าจะเป็นเพราะเหตุใด เพื่อเป็นการแสดงความเคารพสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์จึงต้องให้แสดงความบริสุทธิ์กายเช่นนั้น อ่านเพิ่มเติม>>
 

พจนานุกรม ภาษาถิ่น ไทเลย - กลาง (2566)

หนังสือ "พจนานุกรมภาษาถิ่นไทเลย-กลาง" เป็นผลงานการค้นคว้าทางวิชาการและวัฒนธรรมภาคอีสาน ด้านความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรม ภาษา ขนบธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมภาคอีสาน ของ นายสาร สาระทัศนานันท์ เพื่อเผยแพร่และประกอบการนำเสนอสถาบันหรือองค์กรต่างๆ ด้านการศึกษา ต่อมาบุตรของนายสาร สาระทัศนานันท์ ได้ทำการศึกษาผลงานต่างๆ และได้เขียนหนังสือเชิงวิเคราะห์ผลงานการเขียนของคุณพ่อเพื่อสืบทอด ขยายผล ต่อยอด องค์ความรู้ คุณค่าที่ได้จากผลงาน เห็นว่าหนังสือเล่มนี้มีคุณค่ามาก เพราะคนรุ่นหลังที่เป็นคนไทเลย มักจะลืมคำที่เป็นภาษาถิ่นไทเลยดั้งเดิมไปและจัดพิมพ์ขึ้นใหม่ เนื่องจากฉบับเดิมมีสภาพเก่าชำรุด โดยคงเนื้อหาเดิมไว้ครบถ้วน ไม่มีการแก้ไขหรือเพิ่มเติมแต่อย่างใด เพื่อเผยแพร่ แจกจ่ายเป็นกุศลทานให้แก่ญาติพี่น้อง ผู้ที่เคารพนับถือ เพื่อนสนิมมิตรสหาย บุคคลทั่วไปและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้อ่านและศึกษา เสริมความรู้ให้แก่ตนเอง หรือช่วยเผยแพร่ต่อไปอีก ประการสำคัญเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภาษาถิ่นไทเลย  อ่านเพิ่มเติม>>
 

ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” จังหวัดเลย (2566)

 

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้รับพระราชทานราชานุญาตจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้จัดตั้งขึ้นตามโครงการจัดตั้ง

ห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" เพื่อเฉลิมพระเกียรติและเพื่อสนองแนวทางพระราชดำริ ในการส่งเสริมการศึกษาสำหรับประชาชนที่ได้ทรง แสดงในโอกาสต่าง ๆ ในโอกาสที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จเป็นองค์ประธาน ในการประชุมสมัชชาสากลว่าด้วยการศึกษาผู้ใหญ่  เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2533 ได้ทรงพระราชทานลายพระหัตถ์ เชิญชวนให้ และในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง “ห้องสมุดในทัศนะของข้าพเจ้า” ได้ทรงกล่าวว่า“...ความรู้ของมนุษย์เป็นมรดกที่ตกทอดกันมาแต่โบราณ   เมื่อมีการประดิษฐ์คิดค้นอักษรขึ้นผู้มีความรู้ก็ได้บันทึกความรู้ของสิ่งที่ตนค้นพบเป็นการจารึกหรือเป็นหนังสือ ทำให้บุคคลอื่นในสมัยเดียวกัน  หรืออนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสศึกษาทราบถึง เรื่องนั้น   และได้ ใช้ความรู้เก่า ๆ เป็นพื้นฐานที่จะหาประสบการณ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นความก้าวหน้า เป็นความเจริญสืบต่อไป...  อ่านเพิ่มเติม>>

กลุ่มทอผ้าไทเลย (บ้านก้างปลา) (2566)

กลุ่มทอผ้าไทเลย (บ้านก้างปลา) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2524 โดยหมู่บ้านได้รับการ

คัดเลือกให้เป็น“หมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง” โดยได้มีการส่งเสริมให้ชุมชนทอผ้าขึ้นใช้เอง ต่อมากรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ก็ได้เข้ามาสนับสนุนให้มีการรวมตัวจัดตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้น โดยมีนางแตงอ่อน บุตรดีสุวรรณ เป็นประธานกลุ่มเพราะเป็นผู้มีบทบาทริเริ่มและมีฝีมือในการทอและประยุกต์ลายผ้ามีสมาชิกจำนวน 10 คน ปัจจุบันกลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านก้างปลาหมู่ที่ 9 มีนางฉลาด เสาวนนท์ เป็นประธานกลุ่ม ที่ทำการกลุ่มเลขที่ 177 หมู่ที่ 9 บ้านก้างปลา ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเลย อ่านเพิ่มเติม>>

 

ประเพณี บุญข้าวประดับดิน (2566)

ฮีตเดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน  ประเพณีเเห่งการเเสดงความกตัญญูของลูกหลานที่มีต่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ   การทำบุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีหนึ่งในฮีตสิบสอง นิยมทำกันในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า หรือที่เรียกว่า #บุญเดือนเก้า #บุญข้าวประดับดิน เป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ เปรต (ชาวอีสานบางถิ่นเรียก เผต) หรือญาติมิตรที่ตายไปแล้ว ข้าวประดับดิน ได้แก่ ข้าวและอาหารคาวหวาน พร้อมหมากพลู บุหรี่ที่ห่อด้วยใบตอง กล้วย นำไปวางไว้ตามใต้ต้นไม้ แขวนไว้ตามกิ่งไม้ ตามบริเวณกำแพงวัดบ้าง หรือวางยายไว้ตามพื้นดิน เรียกว่า "ย่ายห่อข้าวน้อย" (ย่าย ภาษาอีสานหมายความว่า การวางเป็นระยะๆ) พร้อมกับเชิญวิญญาณของญาติมิตร นำภัตตาหารไปถวายแด่พระภิกษุ สามเณร แล้วอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย โดยหยาดน้ำ (กรวดน้ำ) ไปให้ด้วย  อ่านเพิ่มเติม>>
 

ภูผาผึ้งห้วยม่วง (2566)

 

ภูผาผึ้งห้วยม่วง  มีลักษณะหน้าผาหินปูนและเป็นป่าธรรมชาติของชาวบ้านห้วยม่วง  ตำบลนาดินดำ  อำเภอเมืองเลย  จังหวัดเลย  ต่อมา ปี พ.ศ 2564  มีกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ  ซึ่งเป็นประชาชน  เป็นลูกเป็นหลานชาวบ้านห้วยม่วง  ได้เข้ามาพัฒนา บุกเบิกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ  ซึ่งมีตาแว่นผู้ดูแลสถานที่ท่องเที่ยวภูบ่อบิด  และคุณหมอเทห์ (คุณหมอ รพสต.เจริญสุข  ตำบลนาดินดำ)  และมีหน่วยงานราชการ  เทศบาลตำบลนาดินดำ  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  การท่องเที่ยวจังหวัดเลย  ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ  ปรับปรุงพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม  และมีหน่วยงานราชการสนับสนุนนำผู้ที่ดูแลภูผาผึ้ง  เข้าศึกษาดูงาน และผ่านการอบรมการเป็นไกด์นำเที่ยว  เพื่อให้ผ่านการอบรมและจะได้นำความรู้มาพัฒนาปรับใช้กับสถานที่ท่องเที่ยวภูผาผึ้ง  อ่านเพิ่มเติม>>

นิยมพยากรณ์ (2566)

นางนิยม  คลังกลาง  (นิยมพยากรณ์)  เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ  มีความเชี่ยวชาญ ภูมิปัญญาเกี่ยวกับความเชื่อและศาสนา  อาชีพเฉพาะทาง  โหราศาสตร์ หมอดูลายมือ ดูฤกษ์ยาม ประสบการณ์ 40 ปี

เป็นผู้ที่มีชื่อเสียงทางด้านหมอดูลายมือ  โดยนางนิยม  คลังกลาง  ได้รับความรู้การดูหมดดูลายมือ  จากรุ่นหนึ่งสู่รุ่นหนึ่ง  จนนางนิยม  คลังกลาง  ได้ประกอบอาชีพหมอดูลายมือมาจนถึงปัจจุบัน  มีประชาชนทั่วไปทั้งต่างหมู่บ้าน  ต่างอำเภอไปดูดวงกับนางนิยม  คลังกลาง  โดยประชาชนที่ไป  จะต้องเตรียมขัน 5 (คือเทียน 5 คู่ และดอกไม้ 5 คู่)  อ่านเพิ่มเติม>>

  

ศูนย์เรียนรู้การเกษตรทฤษฎีใหม่ (นายบุญแทน เหลาสุพะ) (2566)

 

ศูนย์เรียนรู้การเกษตรทฤษฎีใหม่ (นายบุญแทน  เหลาสุพะ)

โดยมีนายบุญแทน  เหลาสุพะ  เจ้าของศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่  เป็นสวนเศรษฐกิจพอเพียงในท้องถิ่น  มีการดำรงชีวิตตามสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ  ปลูกพืชผักผลไม้ในสวนเพื่อรับประทานในครัวเรือนและจำหน่ายให้คนในถ้องถิ่น โดยพืชผักที่ปลูกล้วนเป็นผักผลไม้ปลอดสารเคมี  เพราะสวนแห่งนี้ปุ๋ยอินทรีย์ที่จัดทำขึ้นเอง  รวมถึงสารบำรุงดอกและใบ  สารกำจัดศัตรูพืชก็จัดทำขึ้นจากวัถุดิบธรรมชาติทั้งสิ้น  “แต่ก่อนเคยปลูกฝ้าย ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ใช้ยาตลอด (ยาฆ่าแมลง) พอตรวจร่างกาย มีสารพิษตกค้างมาก จึงเลิกใช้สารเคมี ทุกวันนี้ยังมีสารตกค้างอยู่เลย แต่น้อยกว่าแต่ก่อน” เริ่มด้วยการซื้อต้นละมุดมาปลูก 1 ต้น และค่อยๆ จัดสรรแบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชุมชน (รพช.) มาขุดสระเก็บน้ำให้ ปัจจุบันมีพืชสวนร่วม 23 ชนิด  อ่านเพิ่มเติม>>

การทำเกษตรอินทรีย์ (2566)

นางจิรัสยา วรรณไชย วิลาร์ด  เป็นผู้มีความรู้  ความสามารถในการทำการเกษตรอินทรีย์  ปลูกผักและผลไม้  โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์  ที่ทำขึ้นเอง  ผักผลไม้เกษตรอินทรีย์สามารถจำหน่ายให้กับคนในชุมชน ทำให้ประชาชนในชุมชนได้รับประทานผักและผลไม้ปลอดสารผิด  และยังสร้างรายได้ให้กับเจ้าของสวนเป็นอย่างดี สวนกระต่ายสบายเลย ของนางจิรัสยา วรรณไชย วิลาร์ด  ได้รับเลือกเป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ประจำตำบลนาดินดำและอำเภอเมืองเลย  พืชผักผลไม้ ในสวนกระต่ายสบายเลย เช่น แก้วมังกร มะนาว อโวคาโด ผักสลัด ผักเคล ฯลฯ อ่านเพิ่มเติม>>

  

ผ้าลายดอกฝ้ายเมืองเลย (2566)


จังหวัดเลยได้ดำเนินการลงพื้นที่สืบค้นลายผ้าที่เป็นลายดังเดิมของจังหวัดเลย  จากอำเภอต่าง ๆ ที่อยู่ในจังหวัดเลย พบลายผ้าที่เป็นลายดั้งเดิมที่เป็นลายประจำอำเภอเป็นจำนวนมาก  คณะทำงานออกแบบลายผ้าอัตลักษณ์ประจำจังหวัดเลย ประกอบด้วยภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ ภูมิปัญญา และปราชญ์ชาวบ้าน และประชาชน ในจังหวัดเลย ได้ร่วมกันสืบค้น และลายผ้าที่มีลักษณะเด่นจากการถักทอ สื่อถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดเลย ไปพร้อมกับการพัฒนาและต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมด้านการทอผ้าของจังหวัดเลย ที่มีมายาวนาน และคณะกรรมการพิจารณาลายคัดเลือกลายผ้า “ลายดอกฝ้ายเมืองเลย” เป็นลายผ้าอัตลักษณ์ ประจำจังหวัดเลย อ่านเพิ่มเติม>> 

ห้วยกระทิง (2566)

 

ห้วยกระทิง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม ตั้งอยู่อ่างเก็บน้ำหมานตอนบน เป็นอ่างเก็บน้ำสันเขื่อนดิน มีพื้นที่ในส่วนของอ่างเก็บน้ำ 2.4 ตารางกิโลเมตร มีขนาดความจุ 26 ล้านลูกบาศก์เมตร สันเขื่อนยาว 800 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ 1,500 ไร่

เริ่มแรกอ่างเก็บน้ำหมานสร้างขึ้นเพื่อการชลประทาน เนื่องจากอ่างเก็บน้ำหมานมีทิวทัศน์สวยงาม มีภูเขาทิวไผ่โอบล้อม บรรยากาศดี จึงมีการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว จุดเด่น มีทิวทัศน์สวยงาม ล่องแพพักผ่อน พร้อมทานอาหารได้  อ่านเพิ่มเติม>>

ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม (2566)

 

ภูมิปัญญาด้านการเกษตร  

ประวัติข้อมูลส่วนตัวของผู้ประกอบภูมิปัญญาท้องถิ่น  นายยงยุทธ  ประวัง    อายุ  65  ปี  เกิดวันที่ 31 ตุลาคม 2500  บ้านเลขที่ 65 หมู่ที่ 6 ตำบลน้ำหมาน อำเภอเมืองเลย  จังหวัดเลย โทรศัพท์มือถือ 0819652077  อ่านเพิ่มเติม>>

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเลย (2566)

ห้องสมุดประชาชนจังหวัดเลย ก่อตั้งขึ้น  โดยครอบครัวสิงหเสนี เป็นผู้บริจาคทุนทรัพย์ ในการสร้างในครั้งนั้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานให้กับ พระยาประเสริฐสุนทราศรัย (กระจ่าง สิงหเสนี) ผู้เป็นบิดา ที่เคยได้รับราชการเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเลย  โดยการก่อสร้างอาคารได้เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อวันที่  20 เมษายน  2525  โดยมีพระเทพวราลังการ (หลวงปู่ศรีจันทร์)เจ้าคณะภาค  11  ธรรมยุต วัดศรีสุทธาวาส อำเภอเมืองเลย เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ โดยคุณขจร ไทยอุบุญ เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ในการก่อสร้างห้องสมุดในครั้งนี้ สร้างขึ้นตามแบบของกรมการศึกษานอกโรงเรียน และได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงบางส่วนที่เห็นว่าไม่เหมาะสมเพื่อให้ดีขึ้น ใช้งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) ทางกรมการศึกษานอกโรงเรียนได้จ่ายงบประมาณสมทบเป็นค่าจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ประจำห้องสมุดจำนวน 200,000 บาท สร้างรั้วและปรับปรุงสนาม 170,000 บาท และซ่อมแซมอาคารคุรุสัมมนาคารเพื่อใช้เป็นที่ทำการศูนย์ชั่วคราวอีก 350,000 บาท  อ่านเพิ่มเติม>>
 

การทำพวงกุญแจจากเศษผ้า (2566)

กลุ่มอาชีพ การทำพวงกุญแจจากเศษผ้า  เป็นการรวมกลุ่มกันของชาวบ้านนาอ้อ หมู่ 2 ตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย โดยมีวิทยากรจาก ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองเลย มาอบรมให้สมาชิกกลุ่ม ซึ่งเป็นการต่อยอดอาชีพจากกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง ซึ่งสามารถนำเอาเศษผ้ามาทำเป็นพวงกุญแจ หรือเครื่องประดับ เพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมให้กับสมาชิกกลุ่ม  อ่านเพิ่มเติม>>
 

การทอผ้าซิ่น ตีนซิ่น (2566)

นางชุ่ม  จันทะวัน ผ้าตีนซิ่น บ้านเลขที่ ๖๗ หมู่ที่ ๑๒ บ้านกำเนิดเพชร  ตำบลเมืองอำเภอเมือง จังหวัดเลย เป็นผู้ที่ทำผ้าซิ่น ของชุมชนบ้านกำเนิดเพชร หมู่ที่ 12 ตำบลเมือง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ซิ่น  เป็นผ้านุ่งของผู้หญิง มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ทั้งขนาด การนุ่ง และลวดลายบนผืนผ้า โดยมีการสวมใส่ในประเทศไทยโดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคอีสานของไทย   อ่านเพิ่มเติม>>
 

โครงการศูนย์บริการเกษตรเคลื่อนที่ หนองหล่ม (2566)

อ่างเก็บน้ำหนองหล่ม  หรือเรียกอีกชื่อว่า  สระเวฬุวัน ตั้งอยู่  ณ  บ้านกำเนิดเพชร  หมู่  11  ตำบลเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดเลย ก่อตั้งเมื่อปี 2519 ใกล้ๆกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

ซึ่งเดิมทีเมื่อก่อนหนองหล่มแห่งนี้เป็นบ่อน้ำธรรมชาติ ที่ชาวบ้านใช้เพื่อการดำรงชีวิต ในการหาปลา ในการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ตลอดจนใช้ในการอุปโภคต่างๆในชีวิตประจำวัน

ซึ่งต่อมาได้มีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาปรับปรุงบริเวรรอบๆหนองหล่ม เพื่อให้ประชาชนไกล้เคียงได้ใช้ประโยชน์ของหนองหล่มกันอย่างทั่วถึง  อ่านเพิ่มเติม>>

 

การทำกรงนก เครื่องจักสาน (2566)

ประวัติข้อมูลส่วนตัวของผู้ประกอบภูมิปัญญาท้องถิ่น 

เจ้าของ  นายจำรัส  แพงงา

บ้านเลขที่ 3 หมู่ที่ 13 บ้านหนองผักก้าม ตำบลเมือง อำเภอเมืองจังหวัดเลย

เมื่อก่อนนายนายจำรัส  แพงงา ประกอบอาชีพรับจ้างและทำเกษตรกรปลูกข้าว ทำไร่ ทำสวน และรับจ้างต่างเพื่อพอจะทำได้ จนกระทั่งวันหนึ่งเขาได้ไปหาเพื่อนที่ต่างจังหวัด ซึ่งเพื่อนของเขาได้ประกอบอาชีพทำกรงนกหัวจุกนายจำรัส  แพงงา และเครื่องจักสานต่างๆ

นายจำรัส  แพงงา จึงได้เข้าไปปรึกษาและสอบถามการทำกรงนกหัวจุก ซึ่งในตอนนั้นการเลี้ยงนกหัวจุกได้แพร่หลายจำนวนมาก และนิยมเลี้ยงกันจนแพร่หลาย และทำให้กรงนกหัวจุกที่ใช้เลี้ยงนกหัวจุกนั้นไม่มีพอจำหน่าย  อ่านเพิ่มเติม>>

 

พิพิธภัณฑ์ศิลปะวัฒนะธรรม จังหวัดเลย (2566)

 

พิพิธภัณฑ์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดเลย  ในปี พ.ศ. 2530 เมื่อมีการก่อตั้งศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเลย ในวิทยาลัยครูเลย ได้เปิดเป็นหอวัฒนธรรมขึ้น ต่อมาได้ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ในปีพ.ศ. 2535 ด้วยงบประมาณสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย แล้วจึงก่อตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจังหวัดเลย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 โดยอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เมื่อปี พ.ศ. 2549 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนาทรงเสด็จมาเยี่ยมชม 6 พิพิธภัณฑ์ อ่านเพิ่มเติม>>

ข้าวหลามโบราณ (2566)

 

นางสาวจิราพร  แก้วกันหา มีความรู้เรื่องการทำข้าวหลามโบราณที่สืบทอดมาจาก บิดามารดาเพื่อมาประกอบอาชีพสร้างรายได้หลักให้กับครอบครัว และเป็นอาชีพหลักของครอบครัว โทรศัพท์มือถือ 0611870445 

กระบวนการ ขั้นตอนการผลิต

วิธีทำ ข้าวหลามในกระบอกไม้ไผ่

สูตร วิธีทำข้าวหลาม แบบง่าย ๆ ทำเองได้ รสชาติอร่อย มีมาแนะนำด้วยกัน 2 สูตร คือ สูตรดั้งเดิม และสูตรข้าวเหนียวดำธัญพืช จะทำได้อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย  อ่านเพิ่มเติม>>

บุญข้าวจี่ กินข้าวแดกงา เว้าจาภาษาเลย (2566)

บุญข้าวจี่เป็นประเพณีที่เกิดจากความสมัครสมานของชุมชนชาวบ้านจะนัดหมายกันมาทําบุญร่วมกันโดยช่วยกันปลูกผามหรือปะรํา  เตรียมไว้ใน ตอนบ่าย ครั้นเมื่อถึงรุ่งเช้าในวันต่อมาชาวบ้านจะช่วยกันจี่ข้าว หรือปิ้งข้าวและตักบาตรข้าวจี่ร่วมกัน หลังจากนั้นจะให้มีการ เทศน์นิทานชาดก เรื่องนางปุณณทาสีเป็นเสร็จพิธี บุญข้าวจี่นิยมทำในราวกลางหรือปลายเดือนสาม คือ ภายหลังการทำบุญวันมาฆบูชา ข้าวจี่ คือข้าวเหนี่ยวนึ่งให้สุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนโตประมาณเท่าไข่เป็ดขนาดใหญ่หรือผลมะตูมขนาดกลาง ทาเกลือเคล้าให้ทั่วและนวดให้เหนียว แล้วเสียบไม้ย่างไฟ ถ้าไม่เสียบไม้จะย่างบนเหล็กหรือบนไม้ไผ่ผ่าซีกสานขัดกันเป็นตะแกรงห่าง ๆ ก็ได้ โดยย่างบนกองไฟที่เป็นถ่านพลิกไปพลิกมามาจนเกรียมโดยรอบ จึงเอาออกมาทาด้วยไข่ ซึ่งตีให้ไข่ขาวไข่แดง เข้ากันตีแล้วทาจนทั่วปั้นข้าว จึงเอาย่างไฟให้สุกอีกครั้งหนึ่ง บางแห่งเมื่อเอาข้าวย่างไฟเสร็จแล้ว ถอดเอาไม้ออก เอาน้ำอ้อยปึกใส่เป็นไส้ข้างในด้วย น้ำอ้อยอาจเอายัดใส่ข้างในก่อนย่างไฟก็ได้ แต่บางแห่งไม่นิยมใส่น้ำอ้อย   อ่านเพิ่มเติม>>
 

วัดถ้ำผาปู่ (2566)

วัดถ้ำผาปู่เป็นวัดที่เงียบสงบ เป็นสำนักวิปัสสนาและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและศาสนาที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะสายปฏิบัติวิปัสสนา นอกจากนี้ภายในวัดยังมีทรัพยากรท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ฝูงค่างแว่น ถ้ำต่างๆบนเขานิมิต รวมทั้งบ่อน้ำในถ้ำผาปู่ที่ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ส่วนภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่ผนังเพิงผาปากถ้ำพระ

ภายในวัดถ้ำผาปู่ ยังมีพิพิธภัณฑ์หลวงปู่คำดี ปภาโส เป็นอาคารทรงมณฑปจตุรมุขสูง 32 เมตร ยกพื้นสูง ใต้ถุนโล่ง ล้อมรอบอาคารภายนอกด้วยลานประทักษิณที่อยู่ในระดับต่ำกว่า มีบันไดจากพื้นล่างขึ้นสู่ลานประทักษิณที่ด้านทิศตะวันออก ส่วนบันไดจากลานประทักษิณขึ้นสู่ตัวอาคารพิพิธภัณฑ์มีอยู่ทั้ง 4 ทิศ   >>อ่านเพิ่มเติม
 

พิพิธภัณฑ์ประภัศร์จันทโชติ วัดศรีจันทร์ อนุสรณ์วิจารณ์สังฆกิจ (2566)

 

พิพิธภัณฑ์ประภัศร์จันทโชติ วัดศรีจันทร์ อนุสรณ์วิจารณ์สังฆกิจ 

บ้านนาอ้อ  หมู่ที่ 1 ตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 

เดิมตำบลบ้านนาอ้อ มีเขตการปกครองไปถึงตำบลศรีสองรัก เมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้น  พ.ศ. 2530    จึงได้แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลศรีสองรักปัจจุบัน และเทศบาลตำบลนาอ้อ   นาอ้อเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 300 ปี ผู้คนสืบเชื้อสายมาจากเวียงจันทน์และหลวงพระบาง เดิมเรียกบ้าน “หนองวังขอน” เพราะมีหนองน้ำขนาดใหญ่และมีขอนไม้อยู่กลางหนอง ต่อมาราวปี 2226 ชาวบ้านได้อพยพลงมาทางใต้ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ คืออยู่ในบริเวณรอบๆ หนองอ้อ ชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านนาอ้อ” และได้ตั้งวัดศรีจันทร์ขึ้นเป็นวัดแรก  อ่านเพิ่มเติม>>

การเลี้ยงปลานิลกระชัง (2566)

 

บ้านท่ามะนาว หมู่ที่ 4 ตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย หมู่บ้านท่ามะนาว หมู่ที่ 4 ตำบลนาอ้อ อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ตั้งอยู่ริมแม่ลำน้ำเลย แม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่านมาจากทางเหนือ  ไหลลงสู่แม่น้ำโขง  พาดผ่านบริเวณของหมู่บ้าน มีความยาวของแม่น้ำหลายสิบกิโลเมตร  อาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร  รับจ้าง  กรีดยาง  จักรสาน  ทอผ้า  และอื่นๆ  แต่มีอาชีพหนึ่งที่สามารถทำรายได้ให้แก่คนในชุมชนบ้านท่ามะนาว  คืออาชีพการเลี้ยงปลากระชัง   อ่านเพิ่มเติม>>

นิทานใต้ต้นกร่าง (2566)

 

ในสวนที่มีทั้งต้นไม้น้อยใหญ่ นานาชนิด และมีต้นไม้ต้นน้อยเหล่านี้สามารถโน้มลำต้นมาคุยกันได้ บอกอยากโตเร็วๆ จะได้ผลิดอกออกผลเป็นชมพู่หวานๆ จะออกผลใหญ่กว่าใคร และจะอร่อยกว่าต้นมะม่วงต้นอื่น บ้างก็บอกไม่ยอมแพ้หรอก จะออกผลฝรั่งทั้งหวานทั้งกรอบให้คนติดใจเลย ต้นกร่างเล็กๆ ฟังต้นนั้น ต้นนี้คุยกัน ก็นึกในใจว่าฉันก็จะออกผลที่หวานอร่อยให้ได้เหมือนกัน หลังจากนั้นต้นไม้กลุ่มนี้ก็แข่งขันกันเติบโต ต้นมะม่วงแย่งดูดน้ำและอาหารมากกว่า ตอนนี้มีต้นสูงใหญ่ ใบสีเขียวสด โตกว่าต้นอื่น ๆ   อ่านเพิ่มเติม>>

ลูกแก้วมังกร (2566)

 

คุณตาและคุณยายอาศัยอยู่ด้วยกัน 2 คน และได้เลี้ยงหมากับแมวไว้ด้วย ด้วยฐานะทางบ้านยากจน ทำให้คุณตาตกปลาเพื่อเลี้ยงชีพ จู่ๆ วันหนึ่งคุณตาตกได้ปลาไนตัวใหญ่สีทอง คุณตาตกใจมาก ปลาตัวนั้นอ้อนวอนขอให้คุณตาปล่อยมันไป คุณตาใจดีจึงปล่อยปลาไนสีทองไป มันจึงตอบแทนคุณตาด้วยลูกแก้วสีเขียว พร้อมกับบอกว่าหากคุณตาอยากได้อะไรก็อธิษฐาน แล้วถูลูกแก้วนี้ คุณตาจะได้ทุกอย่าง จากนั้นคุณตาก็กลับบ้าน และบอกกับคุณยายเรื่องนี้ คุณตาก็เริ่มอธิษฐาน ขอบ้านหลังใหญ่ ๆ ให้เท่ากับปลาวาฬ ทันใดนั้นก็มีหมอกพุ่งขึ้น  อ่านเพิ่มเติม>>

สืบสานพระราชปณิธานในหลวง รัชกาลที่ 9 แนวทางและหลักการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2566)

 

ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อความกินดีอยู่ดีและคุณภาพชีวิตที่ดีของพสกนิกร และพระราชทานไว้ในโอกาสต่างๆ ล้วนแต่เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต บนความพอเพียง พอดี และมีภูมิคุ้มกันแก่ชีวิต รวมไปถึงพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ ตลอดการครองสิริราชสมบัติ 70 ปี พร้อมพระบรมฉายาลักษณ์ เพื่อเป็นกตัญญุตาบูชาถวายราชสักการะ และเผยแพร่พระเกียรติคุณอันล้ำเลิศให้แผ่ไผศาลต่อไป อ่านเพิ่มเติม>>

โคกหนองนาตารัตน์ (2566)

 

โคกหนองนาตารัตน์ เป็นการพัฒนาจัดการพื้นที่ทางการเกษตร ซึ่งเป็นการผสมผสานของเกษตรทฤษฏีใหม่ร่วมกับภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งต้องบอกว่าชื่อเรียกนี้ เป็นการจัดการสภาพแวดล้อมที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ โดยมนุษย์นำสิ่งที่มีอยู่นั้นมาส่งเสริมทำให้เกิดความสำเร็จในการทำเกษตรกรรมโดยเร็ว และเป็นระบบมากขึ้น ทั้งนี้ แต่ละคำของชื่อเรียกยังหมายถึงแนวทางการทำเกษตรแบบอินทรีย์ และการสร้างชีวิตที่มีความยั่งยืนอย่างที่สุด  อ่านเพิ่มเติม>>

การทำหมอนฟักทอง (2566)

โดยนางอารี  มักลำ ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ กศน.อำเภอภูกระดึง ในด้านการเป็นวิทยากรให้กับกลุ่มอาชีพในพื้นที่อำเภอภูกระดึงเพื่อไปต่อยอดในการทำเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักได้  อ่านเพิ่มเติม>>
 

ประเพณีบุญคูนลาน (2566)

 

ประเพณีบุญคูณลาน หรือการสู่ขวัญข้าว เป็นประเพณีของชาวนาในภาคอีสาน จัดขึ้นในเดือนยี่ ตามปฏิทินอีสานของทุกปี จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่างาน "บุญเดือนยี่” ซึ่งการทำบุญคูณลานในแต่ละพื้นที่จะทำไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่ว่าการเก็บเกี่ยวข้าวจะเสร็จเมื่อไหร่ ชาวนาในภาคอีสานนิยมนำข้าวที่นวดแล้วกองขึ้นให้สูง จากนั้นจึงทำบุญประเพณีเพื่อเป็นสิริมงคล เรียกว่าบุญคูณลาน คำว่า "ลาน” คือสถานที่สำหรับนวดข้าว ส่วนคำว่า "คูณลาน” คือเพิ่มเข้าให้เป็นทวีคูณ หรือทำให้มากขึ้นนั่นเอง ซึ่งมีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาเกี่ยวกับประเพณีบุญคูณลานของชาวอีสานว่า  อ่านเพิ่มเติม>>

บ้านผาฆ้อง (2566)

 

“บ้านผาฆ้อง” หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองเลย จังหวัดเลย ระยะทาง 74 กิโลเมตร และตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของที่ว่าการอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร สำหรับการเดินทางจากตัวเมืองเลยไปตามถนนมะลิวัลย์ ทางหลวงหมายเลข 201 อยู่เยื้องกับอุทยานแห่งชาติภูกระดึง โดยเลี้ยวซ้ายไปตามถนนเข้าหมู่บ้าน  อ่านเพิ่มเติม>>

หมอเป๋ากระดูก (หมอพื้นบ้าน) (2566)

 

นายพงษ์ศักดิ์  แก่นไมตรี เรียนรู้วิชาเป่ากระดูกรักษาโรคมาจาก ปู่และพ่อ พ่อต้องการให้นายพงษ์ศักดิ์ แก่นไมตรี มีวิชาการเป่ากระดูกรักษาโรค ต่อจากปู่และพ่อ จึงสอนนายพงษ์ศักดิ์  แก่นไมตรีมาตั้งแต่อายุ 21 ปี พ่อจะเขียนคาถาลงในหนังสือให้ และนายพงษ์ศักดิ์  แก่นไมตรี จะแต่งครู

ไปยกเอาวิชาจากหนังสือของพ่อ นายพงษ์ศักดิ์  แก่นไมตรีใช้เวลาในการศึกษา ร่ำเรียนวิชาเป่า เป็นระยะเวลา 1 ปี เหตุผลที่นายพงษ์ศักดิ์  แก่นไมตรี สนใจวิชาการรักษาเป่าโรคกระดูกรักษาโรค เพราะ พ่ออยากให้นายพงษ์ศักดิ์  แก่นไมตรี สืบทอดและประกอบกับการรักษาในอาชีพที่จะช่วยเหลือคนอื่น และไม่อยากให้ชาเป่ากระดูกรักษาโรค หายไป จึงต้องสืบทอดวิชาเป่ากระดูกรักษาโรคจากพ่อและปู่และรักษาโรคให้กับชุมชน ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง  อ่านเพิ่มเติม>>

บุญโฮมยงค์ฟาร์มจิ้งหรีด บ้านมีชัย (2566)

ภูมิปัญญาด้านการเพาะเลี้ยงจิ้งหรีด ที่เป็นอาชีพเสริมในชุมชนและสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว นายฉลอง  จันทรบุตร ก็เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดมาประมาณ 3 ปี ที่ผ่านมาก็เคยประสบปัญหามากมาย ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจะเกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยง ต้นทุนสูงและสายพันธุ์ของจิ้งหรีดซึ่งบางสายพันธุ์ก็ไม่มีความเหมาะสม ทำให้บางครั้งยากต่อการเพาะเลี้ยง ประสบความสำเร็จน้อยหลังจากนั้น ผู้ชายก็ได้ให้คำแนะนำและศึกษาหาความรู้เองบ้างจากสื่อหนังสืออินเตอร์เน็ตบ้าง ที่จะทำให้จิ้งหรีดโตเร็ว เลี้ยงง่าย และเป็นที่ต้องการของตลาด จึงส่งผลดีเป็นอย่างมากต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดชุมชนบ้านมีชัย มีรายได้เพียงพอต่อครอบครัว อ่านเพิ่มเติม>>
 

การทำไม้กวาดดอกหญ้า

“ดอกหญ้า”เป็นชื่อเรียกเป็นภาษาภาคกลางของผลผลิตจากพืชชนิดหนึ่งซึ่งในแต่ละภาคจะเรียกไม่เหมือนกัน เช่น ภาคใต้เรียกว่า“ดอกอ้อ”ภาคเหนือ เรียกว่า“ดอกกง”ส่วนชาวบ้านแคนใหญ่ ตำบลแคนใหญ่ อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด รู้จักกันดีในชื่อของ “ดอกหญ้า” มีอยู่ 2 ประเภท คือ“แบบแข็ง”และ “แบบอ่อน” แต่ที่นำมาทำไม้กวาดคือ ดอกหญ้าแบบอ่อนต้นเป็นพืชล้มลุก ชอบอากาศเย็น ดินทรายปนกรวดบริเวณเชิงเขา ไม้กวาด เป็นอุปกรณ์ที่ยังจำเป็นต้องใช้ภายในครอบครัว แม้ปัจจุบัน บางบ้านได้นำเครื่องดูดฝุ่นเข้ามาใช้บ้างแล้ว แต่ก็ยังมีบ้านและสถานที่ต่าง ๆ อีกจำนวนไม่น้อย ที่ต้องการใช้ไม้กวาด ดังนั้น การทำไม้กวาดเพื่อจำหน่าย จึงเป็นการเสริมรายได้อีกทางหนึ่งให้กับครอบครัวได้ อ่านเพิ่มเติม>>

 

การทอเสื่อกก (2566)

 

เสื่อกก โดยทั่วไปขึ้นอยู่กับวัสดุอุปกรณ์ที่ทำหากต้องการความสวยงาม ลายละเอียดมีความคงทนต้องเป็นเสื่อที่มาจากปอแก้วหรือปอกระเจา เส้นกกที่มีความเหนียวจะได้งานที่มีความสวยงามและลวดลายที่ละเอียด พร้อมกับลวดลายที่เป็นที่นิยมกันมากๆ เช่น ลายดอกมะขาม ลายตาล้อม ลายตาใบพัด ลายตาเรียง ลายทอง ลายขัด ลายขัดยกดอก ลายแม่ม่าย โดยใช้สีกกที่สลับหรือใช้สีตามความนิยม ซึ่งในสมัยโบราณจะมีสีสันมาจากธรรมชาติ อ่านเพิ่มเติม>>

ประเพณีบุญบั้งไฟ (2566)

 

ประเพณีบุญบั้งไฟตามความเชื่อของชาวบ้านห้วยส้มใต้ หมู่ที่ 7 ตำบลผานกเค้า อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ประเพณีบุญบั้งไฟปรากฏอยู่ใน ตำนานเรื่องพญาคันคากและเรื่องผาแดงนางไอ่ มีการกล่าวถึงการจุดบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถน ตามความเชื่อของภาคอีสานโดยเฉพาะในเรื่องพญาคันคาก อ่านเพิ่มเติม>>

จุดชมวิวผานกเค้า (2566)

 

จุดชมวิวผานกเค้าผานกเค้า ที่ตั้ง ม.1 ต.ผานกเค้า อ.ภูกระดึง จ.เลย ความหมายของชื่อหมู่บ้าน ผา หมายถึง หิน เขาหิน  ทางตัดเป็นแนวดิ่งของภูเขา  นกเค้า หมายถึง นกจำพวกหนึ่งหากินเวลากลางคืน มีหลายชนิด เช่น เค้ากู่ เค้าแมว   บ้านผานกเค้า หมายถึง หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้หรือภูเขาหิน อ่านเพิ่มเติม>>

การทอเสื่อกก (2566)

 

นางประยูร  ภิญโญ  ปัจจุบันอายุ 64 ปี  อาศัยอยู่บ้านเลขที่  61 บ้านห้วยก่องข้าว  หมู่ที่ 11 ตำบลผานกเค้าอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย

   เดิมที นางประยูร  ภิญโญ ก่อนที่ได้จะมาทำการทอเสื่อกก  มีอาชีพเกษตรกรและรับจ้างทั่วไป ซึ่งรายได้จะได้เฉพาะฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิต และรายรับไม่พอกับรายจ่าย จึงคิดอยากทำอาชีพเสริมเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวอีกทาง  โดยตนเองมีความรู้ความสามารถในการทอเสื่อกกอยู่แล้ว     โดยใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นคือต้นกก  นำมาทอเสื่อกก  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในทอเสื่อซึ่งสืบทอดมาจากรุ่นยาย  จึงรวมกลุ่มแม่บ้านในชุมชนประมาณ 4-5 คน ช่วยกันหาวัสดุ ต้นกก ที่มีในชุมชน วัสดุ อุปกรณ์  มาทอเสื่อกกภายในกลุ่ม  เริ่มขายภายในชุมชนและออกขายตามตลาดนัดทั่วไป  โดยสมาชิกในกลุ่มก็ได้ไปต่อยอดเรียนรู้เรื่องลวดลายเพิ่มเติม ทำให้มีคนรู้จักมากขึ้นและมียอดสั่งซื้อเพิ่มมากขึ้น  ทำให้สมาชิกในกลุ่มมีรายได้เสริมและเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครอบครัว อ่านเพิ่มเติม>>

แหล่งเรียนรู้บ้านม้าไทย (2566)

 

ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้

       เดิมที นายเกษม  สมชาย  ฉายา (บุรุษเชื้อชาติอาชาไนยผู้มากับมีดอีโต้ด้ามเดียว) นายเกษม   สมชาย เกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ มีพ่อเป็นทหารย้ายไปเรื่อยๆและเป็นผู้ใหญ่บ้าน  เคยเลี้ยงม้าที่จังหวัดลำปาง และขายม้าจนหมด เมื่อพ่อ แม่เสียชีวิต หลังจากนั้นก็เดินทางเขาสู่กรุงเทพฯเรียนจบปริญญาโทสาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร หลังจากนั้นก็เข้าเป็นอาจารย์สอนพละที่มหาวิทยาลัยเซาท์อีสเอเชีย พร้อมเป็นผู้ฝึกสอนเทนนิส  หลังจากนั้นได้ลาออกมาเป็นผู้จัดการฝ่ายเทคนิคของบริษัทเอกชนด้านการเกษตร สะสมเก็บข้อมูลและความรู้ด้านการเกษตรเรื่อยมา  ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านผาสามยอดตำบลผานกเค้าเมื่อ ปี พ.ศ.2544   อ่านเพิ่มเติม>>

การถักทอไหมพรม (2566)

นางสาวสุกันยา  ตะวันทัศไนย  เป็นผู้มีความรู้  และเป็นผู้จัดตั้งกลุ่มถักทอไหมพรมขึ้นในชุมชน  มีความสามารถในการถักทอไหมพรม เช่น เสื้อกันหนาว หมวกไหมพรม ถุงมือ ถุงเท้าและผ้าคลุมไหล่  โดยใช้ไหมพรมขนแกะวิธีแบบถักมือและแบบทอเครื่องที่ทำขึ้นเอง  ทำให้กลุ่มแม่บ้าน  ในชุมชนได้   มีอาชีพที่มั่นคง  และยังสร้างรายได้ให้กับตนเองและกลุ่มแม่บ้านในชุมชนบ้านผานกเค้า 

กลุ่มถักทอไหมพรม ของนางสาวสุกันยา ตะวันทัศไนย  ได้รับเลือกเป็นแหล่งเรียนรู้การประกอบอาชีพถักทอไหมพรมประจำตำบลผานกเค้าและอำเภอภูกระดึง  อ่านเพิ่มเติม>>

 

การทำกระเป๋าจากเศษผ้า (2566)

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) หมายถึง ความรู้หรือประสบการณ์ดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษหรือถ่ายทอดต่อกันจากสถาบันต่างๆ ในชุมชน เช่น จากสถาบันครอบครัว สถาบันความเชื่อและศาสนา สถาบันการเมืองการปกครอง สถาบันเศรษฐกิจ และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ อ่านเพิ่มเติม>>

วัดศรีภูกระดึงพัฒนาราม (2566)

 

ศาสนสถานในพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา มีองค์ประกอบ คือ โบสถ์ วิหาร เจดีย์ สถูปพระพุทธรูป ศาลาการเปรียญ และกุฏิ หรือสิ่งก่อสร้างอื่นที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาเป็นที่พักอาศัยของพระภิกษุ สามเณร เป็นศูนย์กลางสังคมของพุทธศาสนิกชน และเป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมประเพณีในพระพุทธศาสนา เป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ซึ่งพุทธศาสนิกชนนิยมไปกราบไหว้บูชา และร่วมกิจกรรมต่างๆ ในพุทธศาสนา ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อใช้ในกิจการ หรือเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาได้แก่ ส านักสงฆ์วัดวาอาราม โบสถ์วิหารเจดีย์และสถูป  อ่านเพิ่มเติม>>

สวนน้ำสวนสัตว์ภูกระดึง (2566)

ตั้งอยู่ที่ 151 หมู่ที่ 2  ตำบล ภูกระดึง อำเภอ ภูกระดึง เลย 42180 สถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ สไตล์ชิว ชิว แห่งใหม่ใน อ.ภูกระดึง จ.เลย "สวนน้ำภูกระดึง" ภายในแบ่งเป็นโซนต่างๆดังนี้ - โซนสวนน้ำ สระน้ำขนาดใหญ่ สไลเดอร์ พร้อมเครื่องเล่นให้คุณๆทุกเพศ ทุกวัย ได้สนุกสนานกับการเล่นน้ำเย็นชุมฉ่ำ - โซนสวนสัตว์ ชมสัตว์น้อยใหญ่นานาชนิด อาทิเช่น ม้าแคะ แกะ กวาง นกกระจอกเทศ อีกัวน่า กิจกรรมการให้อาหารสัตว์ ป้อนนมลูกแพะ พร้อมชมการแสดงโชว์จระเข้ - โซนปลาสวยงาม ตู้ปลาสวยงาม น้ำจืด น้ำเค็ม นานาชนิด อาทิเช่น ปลาช่อนอเมซอน ปลาจระเข้ บ้านกระเบนน้ำจืด - โซนพักผ่อนหย่อนใจ นั่งพักผ่อนแบบสบายชิว ชิว ในสวนสวยร่มรื่น พร้อมกิจกรรมถ่ายรูปในมุมดีๆ วิวสวยๆ - โซนอิ่มท้อง เต็มอิ่มกับศูนย์อาหาร มาตรฐานความสะอาด แสนอร่อย พร้อมกิจอื่นๆ อีกมากมาย ค่าบัตรผ่านประตู ผู้ใหญ่ 60 เด็ก 40 ต่างชาติ 100 ค่าบัตรเล่นสวนน้ำ ผู้ใหญ่ 20 เด็ก 10 ที่ตั้ง ตั้งอยู่บ้านห้วยคะมะ ตำบลภูกระดึง อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย จากผานกเค้ามุ่งหน้าไปทางเมืองเลย ประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงบ้านศรีสักดา ให้เลี้ยวซ้าย ขับตรงอีกประมาณ 2 กิโลเมตร ถึงบ้านห้วยคะมะ ให้เลี้ยวซ้าย ตรงไป 200 เมตร ถึงสวนน้ำสวนสัตว์ภูกระดึง  อ่านเพิ่มเติม>>
 

อ่างเก็บน้ำห้วยยาง (2566)

อ่างเก็บน้ำห้วยยาง ตั้งอยู่ในตำบลภูกระดึง อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถจุน้ำได้ถึง 3,713,960 ลูกบาศก์เมตร สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2509 เพื่อใช้ประโยชน์ในการชลประทาน แก้ปัญหาภัยแล้ง และเป็นแหล่งจัดเก็บน้ำเพื่ออำนวยแก่การอุปโภคบริโภคของชาวบ้านในชุมชนเขตเทศบาลภูกระดึง หมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องน้ำ การขาดแคลนน้ำ เพื่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเพื่ออุปโภคบริโภค ในชุมชน และหมู่บ้านใกล้เคียง ภายในอำเภอ  อ่านเพิ่มเติม>>
 

การทำหมอนฟักทอง (2566)

นางอารี มักลำ เดิมเป็นศิษย์เก่าของกศน.ตำบลภูกระดึง สนใจในด้านการประกอบอาชีพเป็นอย่างมาก ศึกษาหาความรู้ในด้านต่าง ๆ จนได้ศึกษาการทำหมอนฟักทอง ซึ่งได้เห็นคุณค่าของการทำหมอนฟักทอง เริ่มจากการฝึกทำด้วยตัวเอง ไปจนถึงขยายความรู้ไปสู่คนรุ่นหลัง เพื่อรักษาความเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงไว้  อ่านเพิ่มเติม>>