TKP Start UP

ประวัติหน่วยงาน

ผีขนน้ำ บ้านนาซ่าว

        งานประเพณีผีขนน้ำ เป็นงานบุญเดือนหก จัดขึ้นหลังวันวิสาขบูชา ช่วงวันแรม 1-3 ค่ำ ถือเป็นงานประจำปีของชาวบ้านตำบลนาซ่าว อ.เชียงคาน จ.เลย จัดขึ้นมาเพื่อเป็นการขอฝนในวิถีชีวิตเกษตรกรรมที่สืบทอดกันมากว่า 300 ปี กล่าวกันว่าชาวบ้านนาซ่าว แต่เดิมเป็นคนไทยพวน อพยพมาจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง มาตั้งหลักแหล่งทำเกษตรกรรมที่ นาซำหว้า แล้วขยายชุมชนมาที่บ้านสองโนน แก่นของความเชื่อของประเพณีท้องถิ่นที่นี่คือการนับถือผี โดยมีจุดศูนย์รวมอยู่ที่ “เจ้าปู่” ที่พำนักในศาลเจ้าปู่นาซ่าว >> อ่านต่อ

ภูทอก ทะเลหมอก

        ภูทอก เชียงคาน จังหวัดเลย จุดชมวิวทะเลหมอกที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ระยะทางห่างจากตัวอำเภอเชียงคานประมาณ 3 กิโลเมตร ภูทอกมีลักษณะเป็นภูเขาสูง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง เป็นจุดชมวิวทิวทิวทัศน์ที่สวยงาม สามารถมองเห็นสายหมอกปกคลุมภูเขาคลอเคล้าแสงสีทองของพระอาทิตย์ มีระเบียงชมวิวที่สามารถชมวิวได้ชัดเจนขึ้น >> อ่านต่อ
 

"แก่งคุดคู้"


"แก่งคุดคู้" สถานที่ท่องเที่ยวฮิตของอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ห่างจากตัวอำเภอเชียงคานประมาณ 7 กิโลเมตร มีตำนานเล่าต่อกันมานานแล้ว มีพรานป่าคนหนึ่งชื่อ “จึ่งขึ่งดั้งแดง” รูปร่างสูงใหญ่ ล่ำสัน มีฝีมือในการล่าสัตว์ วันหนึ่งนายพรานผู้นี้ตามล่าควายเงินมาจากหลวงพระบาง (ที่เรียกควายเงิน เพราะมูลของควายตัวนี้เป็นเงิน) พอมาถึงริมน้ำโขงเห็นควายเงินพักกินน้ำ นายพรานจึงดักซุ่มยิง พอดีชาวบ้านแล่นเรือผ่านมา ควายเงินตกใจตื่นเตลิดขึ้นไปบนเขา ลูกหนึ่ง (ต่อมาเขาลูกนี้ได้ชื่อว่า"ภูควายเงิน") >> อ่านต่อ

 

วัดพระพุทธบาทภูควายเงิน


จากหลักฐานที่บันทึกประวัติความเป็นมาของวัด ได้ระบุไว้ว่าวัดพระพุทธบาทภูควายเงินสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2300 เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเขาสูงจากระดับทะเลปานกลาง 400 เมตรนอกจากนี้แล้วยังมีเรื่องเล่าต่อกันมา ด้วยว่า ในอดีตวัดแห่งนี้เป็นวัดร้าง แต่มักจะมีพระธุดงค์เดินทางมาปักกลดบำเพ็ญเพียรอยู่เสมอ และในบริเวณ วัดยังมีรอยพระพุทธบาทปรากฏอยู่ภายใต้ซุ้มอิฐใหญ่ ขนาดพอที่คนจะเข้าไปนั่งได้ 2 คนซึ่งในภาษาถิ่นจะเรียก สิ่งปลูกสร้างในลักษณะนี้ว่า"อุบมุง" >> อ่านต่อ

 

วัดมหาธาตุ


    วัดมหาธาตุเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในอำเภอเชียงคาน สร้างขึ้นพร้อมๆกับการก่อตั้งเมืองเชียงคาน ชาวบ้านเรียกวัดหลวงพ่อใหญ่ เป็นโบราณสถานสำคัญที่แสดงศิลปกรรมท้องถิ่นรูปแบบสถาปัตยกรรมล้านช้างในช่วงพุทธศตวรรษ ที่ 22-24 ปัจจุบันเป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ในประวัติวัดกล่าวว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.2197 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ.2219 >> อ่านต่อ


 

วัดศรีคุณเมือง

 


        วัดศรีคุณเมือง เดิมชื่อ วัดใหญ่กลางเมือง หรือ วัดใหญ่ ข้อมูลจากหนังสือ ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 11 ระบุว่า ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2199 โดยมีหัวครูบุตรดีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ร่วมกันพระยาอุนุพินาก เป็นประธานฝ่ายฆราวาส นำชาวบ้านสร้างวัดขึ้นพร้อมการตั้งบ้านเมือง จึงเป็นวัดเก่าแก่ชาวบ้านเรียกว่าวัดใหญ่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อพ.ศ. 2220 การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ พระครูสิริกัลยาณวัตร ตั้งแต่พ.ศ. 2531 เป็นต้นมาการศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนพ.ศ. 2480 ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอน พ.ศ. 2535 >> อ่านต่อ

การทำออมสินจากไม้ไผ่ (2566)


“หมู่บ้านผางาม และหมู่บ้านใกล้เคียง มีไม้ไผ่มากและไม่ค่อยมีใครนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าเท่าที่ควร จึงได้พยายามคิดค้น ดัดแปลง ภูมิปัญญาชาวบ้านแต่โบราณให้เข้ากับยุกต์สมัย จากไม้ไผ่ธรรมดาจนกลายมาเป็นกระปุกออมสิน ทดรองทำผิดบ้างทำถูกบ้าง กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม ลองนำไปจำหน่ายที่ตลาดในตัวจังหวัดเลย ปรากฏว่าเป็นที่สนใจของลูกค้า จึงชักชวนเพื่อบ้านมาร่วมกันทำ จึงได้กลายเป็นกลุ่ม “แปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่” มาจนถึงปัจจุบันนี้ >> อ่านเพิ่มเติม
 

การทำกระติ๊บข้าว ไทเลย


เดิมทีมีอาชีพค้าขาย และมีความเป็นคนชอบเรียนรู้ ในตอนหนุ่มๆ มีพ่อค้าต่างจังหวัดมาพักอาศัยอยู่บ้านข้างเคียง และได้เห็นคนที่มาพักสานจึงเข้าไปเรียนรู้ และทำเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่น ที่ไม่เหมือนใคร คือในกระติ๊บข้าวมีตัวหนังสือที่มีความสวยงามและไม่มีใครสามารถทำได้ มีที่เดียวในจังหวัดเลย ต้องเป็นไม้ไผ่ชัยวาน ที่มีคุณสมบัติที่เหนียวที่สุด ในจังหวัดเลยจะพบมากในพื้นที่อำเภอนาแห้ว ด่านซ้าย ภูหลวง มีการลมควันเส้นตอก เพื่อให้ได้สีตามที่ต้องการ ต้องละเอียดทุกขั้นตอนในการผลิต >> อ่าเพิ่มเติม



 

การทำผ้าทอมือลายน้ำเลย

 


        ผ้าทอไทเลยเป็นผ้าทอเอกลักษณ์ของจังหวัดเลย ตัดเย็บเสื้อผ้าใส่เองมาหลายชั่วอายุคน จนเกิดความรู้ ประสบการณ์ เกิดการพัฒนาความสามารถ สะสมเป็นองค์ความรู้สืบทอดกันมาสู่ลูกหลาน จากการทอผ้าใช้เองในครัวเรือน ชาวบ้านนาอ้อ ได้พัฒนาฝีมือการทอให้มี ลวดลายต่าง ๆ ที่ประณีตสวยงาม เป็นที่ต้องตาต้องใจแก่ผู้พบเห็น เกิดการซื้อขายแลกเปลี่ยนผ้าทอกันเองทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน จนในปัจจุบันผ้าทอพื้นเมืองของบ้านนาอ้อ ได้กลายเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ที่มั่นคง ให้กับชาวบ้านหลายครัวเรือน >> อ่านเพิ่มเติม

วิสาหกิจชุมชนฟรุ๊ตเนอร์รี่


        จากโครงการไทยนิยมยั่งยืนซึ่งมีเวทีการประชาคมสอบถามปัญหาและความต้องการของประชาชนในแต่ละหมู่บ้าน นายอำเภอปากชมได้มีนโยบายให้จัดทำโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ในชุมชน เพื่อเป็นการสร้างพื้นที่ป่าและยังสร้างรายได้ให้กับประชาชนด้วย โดยได้นำต้นหม่อนมาปลูกแต่ยังไม่มีวิธีการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว จึงได้เกิดแนวคิดในการแปรรูปผลหม่อน กล้วย และมะม่วง มาเป็นไวน์ เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับประชาชนชาวบ้านปากเนียม จึงได้จัดตั้งกลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชนการทำไวน์ขึ้น และยังสอดคล้องกับนโยบายด้านการท่องเที่ยวของอำเภอปากชม >> อ่านเพิ่มเติม

 

ภูค้อ นาแห้ว จุดชมวิวทะเลหมอกมีชีวิต


    นายไพรัตน์ เชื้อบุญมี ประธานกลุ่มวิสาหกิจ บ้านบุ่ง ภูค้อ กล่าวว่า การเดินทางขึ้นไปเที่ยวชมพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอกฎค้อนั้น นักท่องเที่ยว จะให้บริการโดยรถอีแต๊ก พาไต่ขึ้นยอดภูด้อ ไปยังจุดชมวิวที่ชาวบ้านได้ไปช่วยกันสร้างขึ้น โดยเส้นทางที่ไปจะผ่านเรือกสวนไร่นาของชาวบ้าน โดยจะใช้เวลาเดินทางจากตัวอำเภอนาแห้วไปถึงจุดชมวิวประมาณ 15 นาที ระยะทางประมาณ 3 กม. สำหรับชมวิว สามารถมองเห็น ทิวทัศน์ ภูเขา รอบทิศทาง ที่ต้องบอกว่าไม่เหมือนใคร พร้อมกับสัมผัสอากาศหนาวเย็นที่อุณหภูมิ15-18 องศาเซียลเซียส ซึ่งสามารถจะมองเห็นทะเลหมอก ได้ 180 องศา >> อ่านเพิ่มเติม

 

ภูเก้าง้อม มุมถ่ายรูปแห่งใหม่สุดอันซีน ของอำเภอนาแห้ว


ตามคำบอกเล่าของนายเทียม ศรีคำ ว่ามีต้นไม้ใหญ่ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่กลางหมู่บ้านซึ่งขณะนี้เป็นทางแยกเขาหมู่บ้านชื่อว่าต้นดอกนามาลา แต่ก่อนบ้านนี้ ชื่อว่า “บ้านนาดอกไม้” ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นนามาลา ตำบลนามาลาเดิมนั้นขึ้นอยู่กับตำบลนาพึง เพื่อสะดวกแก่การปกครองจึงแยกออกจากตำบลนาพึง เป็นตำบลนามาลา โดยเอาหมู่บ้านนามาลา หมู่ที่ ๑ เป็นชื่อของตำบล ตามคำบอกเล่าของนายเริง เสวิสิทธิ์ บอกว่าราษฎร ส่วนใหญ่อพยพมาจากอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก เมื่อประมาณ ๒๑๐ ปีมาแล้ว มีลุงโก มั่งสี พ่อเฒ่าถ้า แม่ตู้คาภา มาปลูกบ้านเรือนทำนาทำไร่มีลูกมีหลานมากขึ้น จึงตั้งเป็นหมู่บ้านชื่อหมู่บ้านนามาลา มีคนเล่าขานว่า มีหมามาจากที่ต่างๆ มาตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า“บ้านหมาลา” ต่อมาชาวบ้านได้เปลี่ยนเป็น “นามาลา” จนถึงปัจจุบัน >> อ่านต่อ

 

วัดโพธิ์ชัย บ้านนาพึง ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย

 



        วัดโพธิ์ชัย ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ชาวบ้านเรียกวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๐ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ พระหลักคำ พ.ศ.๒๓๗๐-๒๓๗๘ พระวรรณพ.ศ. ๒๓๙๐-๒๔๐o พระทุ่ง พ.ศ. ๒๕oo-๒๕๑๒ พระปุ่น พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๙ ภาพเริ่มตั้งแต่ลายหน้ากระดานตรงฐานกลีบบัวคว่ำขึ้นไปจนสุดขอบกำแพง เขียนเป็นลายประจำยามก้ามปูคล้ายกรอบภาพตรงส่วนล่างของภาพแต้ม พื้นผนังส่วนที่เป็นฉากหลังเป็นระนาบสีขาว กรรมวิธีอย่างเดียวกับภาพแต้มอีสานแบบพื้นบ้านสีที่ใช้ มีสีครามเป็นหลัก เหลืองรงสอดแซมด้วยสีเขียว ตัดเส้นด้วยสีดำสภาพปัจจุบัน อาณาบริเวณขององค์ประกอบภาพส่วนรวมโดนอาบด้วยฝุ่นดิน ทำให้บรรยากาศของภาพรวมเกิดความรู้สึกกว่าเป็นสีเอกรงค์ คล้ายกับสีดินคุณค่าของภาพผนังด้านนอกนั้นนอกจากคุณค่าทางด้านเนื้อหาสารที่ได้จากวรรณกรรมพื้นบ้าน >> อ่านเพิ่มเติม


ผลิตภัณฑ์จากเส้นกก


บ้านห้วยตาด หมู่ที่ 4 ตำบลนาดอกคำ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย ห้วยหมายถึง ลำน้ำที่ไหลลงจากภูเขา ตาด หมายถึง ลานหินเป็นชั้นๆ บ้านห้วยตาด หมายถึง หมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ใกล้ลำน้ำซึ่งมีลานหินเป้นชั้นๆ หรือมีน้ำตก ซึ่งด้วยชุมชนบ้านห้วยตาดและหมู่บ้านใกล้เคียง แหล่งที่อยู่อาศัย มีห้วย หนอง คลอง บึง ทำให้เกิดมีต้นกก ซึ่งเป็นวัชพืชท้องถิ่น เกิดขึ้นตามธรรมาชาติเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านห้วยตาด จึงได้นำมาแปรรูปเป้นเสื่อผืน เพื่อมาใช้ในครัวเรือน หากมีมากก้นำไปถวายวัดเพื่อใช้ประโยชน์ รมถึงนำไปเป็นของฝาก ญาติสนิทมิตรสหาย ทำให้ชาวบ้านมีความชำนาญในการทอเสื่อกกเป็นอย่างมาก ซึ่งมีการถ่ายทอดองค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ จนชาวบ้านได้เกิดความคิด โดยที่นำอัตลักษณ์ของชุมชนมาผสมผสานกับวัฒนธรรมจนเกิดสินค้าแฟชั่น ที่ใส่ใจในสิ่งแวดล้อมและสะท้อนบุคลิกที่แตกต่างของผู้ใช้งานได้เป้นอย่างดีเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่นๆเช่น กระเป๋า ตะกร้า ที่วางแก้ว หมวก >> อ่านต่อ

 

ดวงใจมะพร้าวแก้ว


ภูมิปัญญาภูมิปัญญาท้องถิ่น มะพร้าวแก้วเชียงคาน บ้านน้อย ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย คุณแม่ ดวงใจ บุตรตา ที่อยู่ 7/1 ม.4 บ.น้อย ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย 42110 อาชีพ ทำมะพร้าวแก้ว

มะพร้าวเป็นไม้ผลที่มีอยู่ทั่วไป สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศสามารถกินได้ทั้งมะพร้าวอ่อน น้ำมะพร้าว มะพร้าวแก่ กะทิ แต่ที่บ้านน้อย ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคานแปรรูปมะพร้าวเป็น "มะพร้าวแก้ว" โดยกลุ่มอาชีพสตรี พ.ศ. 2507 สตรีอาสาบ้านน้อยจำนวนหนึ่งได้รวมตัวกันเพื่อจะแสวงหาอาชีพเสริมเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว เพื่อนำไปจำหน่ายที่แก่งคุดคู้ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด อาชีพการทำมะพร้าวแก้วจึงได้ ขยายวงไปอย่างกว้างขวางและพัฒนาจากการได้ทำเป็นลักษณะแบบเส้นเล็กๆ เคี่ยวเสร็จนำมากองเป็นก้อน และได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่ลูกแก่หลาน ที่ชุมชนบ้านน้อย ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ภายหลังได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้บางช่วง วัตถุดิบบางอย่างไม่เพียงพอ โดยมะพร้าวในพื้นที่ จะมีเอกลักษณ์คือเนื้อที่หนา จนกระทั่งต่อมาจึงได้มีการรวมกลุ่มกัน เรียนรู้และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้อร่อยน่ารับประทานมีมาตรฐาน เช่น มะพร้าวจะนำมาทำเป็นเส้นบางๆ มะพร้าวอ่อนทำเป็นแผ่น >>อ่านต่อ


 

การทำผ้าห่มนวม อำเภอเชียงคาน

มืองเชียงคาน เป็นแหล่งผลิตผ้านวมที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเลยด้วยความที่ในฤดูหนาวมีอากาศที่หนาวเย็นและในอดีตอำเภอเชียงคานเป็นแหล่งปลูกฝ้ายอันดับต้นๆ จึงทำให้คนที่นี่รู้จักการทำผ้าห่มนวมเพื่อใช้ต้านทานสภาพอากาศที่หนาวเย็นกันเป็นอย่างดีโดยแต่เดิมนั้นชาวเชียงคานจะทำผ้าห่มนวมกันเพียงแค่พอใช้ในครัวเรือน ผ้าห่มนวมเชียงคานถือได้ว่าเป็นงานหัตถกรรมจากภูมิปัญญาพื้นบ้านเนื่องจากขั้นตอนกระบวนการผลิตผ้าห่มนวมของคนที่นี่ยังคงใช้แรงงานคนเป็นหลัก >>อ่านต่อ
 

จักสานไม้ไผ่ไทเลย (นายแปลง วงษาเสนา)

 


จักสานไม้ไผ่ไทเลย (นายแปลง วงษาเสนา)

บ้านเลขที่ 50 หมู่ที่ 1 บ้านกลาง ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

การจักสาน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนในชุมชน และเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ที่สามารถนำวัสดุในชุมชน มาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน สะท้อนให้เห็นความรู้ที่ได้สั่งสม และปฏิบัติสืบทอดต่อเนื่องกันมา จากอดีตจวบจนปัจจุบัน หรือที่เรียกกันว่า “ภูมิปัญญาท้องถิ่น” >>อ่านเพิ่ม